Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

3 posters

    สรุปเนื้อหาวิชาสังคมและพระพุทธของอ.ลัดดา

    Poring~Raider*
    Poring~Raider*
    .....
    .....


    Posts : 498
    Joined : 08/02/2009
    Location : ข้างๆมิกุจัง=[]=!!
    Karma : 2

    สรุปเนื้อหาวิชาสังคมและพระพุทธของอ.ลัดดา Empty สรุปเนื้อหาวิชาสังคมและพระพุทธของอ.ลัดดา

    ตั้งหัวข้อ  Poring~Raider* Fri Jul 09, 2010 4:35 pm

    เอามาลงให้แล้วเน้อ

    Edit : เนื่องจากอัพโหลดแล้วมีปัญหา เลยก๊อปมาวางเลยดีกว่า

    สรุปเนื้อหาวิชาสังคมศึกษา ส33101

    หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
    หน้าที่พลเมืองวัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม

    เรื่องที่ 1
    เราคือคนไทย


    ภาคเหนือ

    1. ชาวไทยที่อาศัยอยู่ในทุกภาคของประเทศมีความแตกต่างกันจำแนกออกได้ 2 ประการใหญ่ๆ มีอะไรบ้าง
    ตอบ 1. ความแตกต่างทางด้านกายภาพสิ่งแวดล้อม
    2. ความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรม

    2. ชนภาคเหนือส่วนใหญ่จะมีชนกลุ่มใดจำนวนมากที่สุดและวัฒนธรรมของภาคเหนือมักจะเรียกว่าอะไร
    ตอบ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มไทยยวนหรือพวกโยนก วัฒนธรรมของภาคเหนือเรียกว่า “วัฒนธรรมล้านนา” (มักเรียกว่าคนเมือง)นอกจากนั้นยังมีไทยยอง ไทยเขิน ไทยลื้อ ไทยใหญ่หรือเงี้ยวชาวไต และชาวไทยภูเขาเผ่าต่างๆ

    3. ลักษณะภูมิอากาศและนิสัยใจคอของคนภาคเหนือจะเป็นอย่างไร
    ตอบ ภูมิอากาศภาคเหนือจะเย็นสบาย ส่วนนิสัยใจคอเอื้อเฟื้อจิตใจดี พูดจาสุภาพอ่อนน้อม

    4. ภาษาที่ใช้กันส่วนใหญ่ในภาคเหนือ มักนิยมพูดจาด้วยภาษาใดและตัวอักษรของภาคเหนือเราจะเรียกว่าอะไร
    ตอบ ภาษา “คำเมือง” ส่วนตัวอักษรภาคเหนือจะเรียกว่า “อักษรล้านนา”

    5. มีชนชาวไทยภูเขาที่อพยพากประเทศใกล้เคียงเข้ามาอาศัยอยู่บริเวณภูเขาสูงในภาคเหนือมีชนกลุ่มใดบ้าง
    ตอบ เผ่ากะเหรี่ยง (มีมากที่สุด) มูเซอ เย้า ลีซอ ม้ง อีก้อ ปะกากะยอ

    6. ลักษณะการสร้างบ้านของคนภาคเหนือมักจะนิยมยกพื้นบ้านให้สูง หลังคามีจั่ว ส่วนบนสุดของหลังคา มีลักษณะโดดเด่นเป็นสัญลักษณ์ของบ้านล้านนา เรียกว่าอะไร
    ตอบ หลังคาแบบ “กาแล” แต่ถ้าเป็นตามชนบทนิยมมุงหลังคาด้วย ใบตองตึง(ใบต้นสัก)

    7. อาหารที่รับประทานกันเป็นลักษณะเฉพาะของภาคเหนือซึ่งแตกต่างจากภาคอื่นๆ มีอะไรบ้าง
    ตอบ อาหารหลักคือ ข้าวนึ่ง(ข้าวเหนียวนำมานึ่ง) รับประทานกับ น้ำพริกอ่อง น้ำพริกหนุ่ม แกงแค แกงโฮะ แกงฮังเล ไส้อั่ว จิ้นทอด(เนื้อทอด) ลาบ แคบหมู ข้าวซอย เมี่ยงคำ ขนมจีนน้ำเงี้ยว ผักกาดจอ น้ำปู๋ ฯลฯ นิยมจัดสำหรับวางอาหารแบบ “ขันโตก” (ตั้งพาข้าวสูงจากพื้นเล็กน้อย)แล้วนั่งกับพื้น)

    8. การแต่งกายของชนภาคเหนือทั้งชายและหญิงแต่งกายอย่างไร
    ตอบ ชาย:นุ่งกางเกง หรือเตี่ยวสะดอ(คล้ายกางเกงเลหลวมๆ)นิยมสวมเสื้อม่อฮ่อม
    (ทอจากผ้าฝ้ายย้อมสีส้ำเงิน)ผู้ชายที่สูงอายุมักนิยมสูบบุหรี่ขี้โย(ม้วนใบยาสูบจากใบตองตากแห้ง)มวนโตๆ
    หญิง: นุ่งซิ่น สวมเสื้อทั้งแขนยาวหรือสามส่วนเข้ารูป มักห่มสใบ และเกล้าผมหรือไว้ผมยาว

    9. เครื่องดนตรีพื้นเมืองของชนภาคเหนือซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะภาคคืออะไรบ้าง
    ตอบ สะล้อ ซึง พิณเปียะ กลอปูจา(กลองตีในพิธีสำคัญของพระพุทธศาสนา-ปูจา ก็คือบูชา)

    10. นาฎศิลป์หรือการแสดงของภาคเหนือมีอะไรบ้าง
    ตอบ การฟ้อนประเภทต่างๆ เช่น ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา ฟ้อนนกกิงกาหล่า(ไทยใหญ่)ฟ้อนเงี้ยว(เงี้ยว)การแสดงอื่นๆเช่น กลองสะบัดไชย

    11. ประเพณีสำคัญของภาคเหนือซึ่งเป็นเอกลักษณ์ประจำภาคมีอะไรบ้าง
    ตอบ ประเพณีสงกรานต์(ปี๋ใหม่เมือง) ปอยส่างลอง(การบวชลูกแก้ว-บวชเณร)ตานก๋วยสลากงานยี่เป็ง(ลอยกระทง-นิยมจุด โคมลอย บายสีสู่ขวัญ(รับ-เรียกขวัญ)งานปอยหลวง (เป็นการเฉลิม ฉลองศาสนสมบัติ อุทิศส่วนกุศลให้ญาติที่ล่วงลับ)ประเพณีเลี้ยงผี(ผีมด-ผีเม้งเซ่นวิญญาณ บรรพบุรุษ)การบูชาอินทขีล(บูชาเสาหลักเมือง) ประเพณีแห่สลุงหลวง (แห่ขันน้ำเพื่อนำไปสรงพระ)ประเพณีแข่งเรือ ประเพณีตีกลองปูจา(กลองบูชา)

    12. พรมแดนของภาคเหนือจะติดกับประเทศใดบ้าง
    ตอบ ทางเหนือและตะวันตก จดกับ พม่า ส่วนทางเหนือและตะวันออก จดกับ ลาวส่งผลต่อการถ่ายทอดวัฒนธรรมด้านต่างๆ

    13. คนภาคเหนือมีแนวความเชื่อเกี่ยวกับการแต่งกายให้สวยงามอยู่เสมอ ซึ่งเป็นคำสอนสืบต่อกันมาเป็นสุภาษิต มีว่าอย่างไร
    ตอบ ตุ๊กบ่ได้กิน(ทุกข์จนไม่มีกิน) บ่มีไผตามไฟส่องต้อง(ไม่มีใครเอาไฟไปส่องดูท้องได้)ตุ๊กบ่ได้นั่งได้ ย่อง(ทุกข์จนไม่มีอะไรมาแต่งตัว) ปี้นองดูแควน(ญาติพี่น้องจะดูถูกเอาได้)

    ภาคอีสาน/ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

    1. ลักษณะภูมิประเทศของภาคอิสาน เป็นอย่างไร
    ตอบ เป็นที่ราบสูง เรียกว่า “ที่ราบสูงโคราช” มีแอ่งคล้ายกะทะ เรียกว่าแอ่งโคราช(บริเวณแม่น้ำมูล) กับบริเวณหนองหานและที่ลาดเอียงสู่แม่น้ำโข่ง เรียกว่าแอ่งสกลนคร

    2. ภาคอิสานมีพรมแดนติดกับประเทศใดบ้าง
    ตอบ ประเทศลาว – ทิศเหนือ,ตะวันออก ,ประเทศกัมพูชา(เขมร) – ทิศตะวันออกค่อนไปทางใต้

    3. ชนเผ่าที่อาศัยอยู่ในภาคอิสาน มีชนเผ่าพันธุ์ใดบ้าง
    ตอบ แบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มมอญ-เขมร ได้แก่ เผ่าไทยกะเลิง ไทยแสก ไทยโส้(กะโส้) ไทยข่า กุย กุลา กลุ่มเผ่าไทย ได้แก่ไทยอิสานหรือไทยลาว ไทยโคราช ไทยย้อ(ญ้อ) ชาวผู้ไทย(ภูไท)

    4. ลักษณะนิสัยใจคอของอิสานจะเป็นอย่างไร
    ตอบ ความเป็นอยู่เรียบง่าย นิสัยซื่อตรง จริงใจ มีน้ำใจรักพวกพ้อง

    5. ภาษาเขียนที่ใช้ในภาคอิสานแบ่งออกได้ 2 แบบ มีอะไรและภาษาพูดมักใช้ภาษาใด
    ตอบ 1. อักษรธรรม(คล้ายอักษรขอม)
    2. อักษรไทยน้อยหรือล้านช้าง

    6. การสร้างบ้านเรือนของอิสานส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นอย่างไร
    ตอบ มีทำเลใกล้กับแม่น้ำลำคลอง ตั้งบ้านเรือนอยู่รวมกันเป็นกลุ่มๆลักษณะใต้ถุนสูงมุงหลังคาด้วยหญ้าแฝก สังกะสี ใบตอง นำไม้ไผ่มาสานเป็นฝาบ้าน

    7. อาหารของคนอิสานส่วนใหญ่ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของภาคมีอาหารชนิดใดบ้าง
    ตอบ คนอิสานมีความสามารถดัดแปลงอาหารได้อย่างดีเยี่ยม รับประทานอาหารง่ายๆมีข้าวเหนี่ยวนึ่งเป็นอาหารหลักหนักรสชาติไปทางรสเผ็ด เค็ม เปรี้ยว เครื่องปรุงหลักที่มีทุกครัวเรือนคือปลาร้า(ใช้แทนน้ำปลา) อาหารเอกลักษณ์ได้แก่ ลาบ ก้อย (ยำหรือเนื้อย่าง),ส่า(ยำหนังหมู,หมูย่าง)แซ หรือแซ่(ยำเนื้อสด ใส่เลือดสดๆ)แกงอ่อม(แกงมีน้ำน้อย) อ๋อ(คล้ายอ่อมแต่ไม่ใส่ผัก) อู๋(คล้ายห่อหมกแต่ไม่ใช่ใบตอง)หม่ำ(ไส้กรอกผสมเนื้อกับตับ)แจ่ว(น้ำพริก เช่นแจ่วบอง) ตำซั่ว(คล้ายส้มตำแต่ใส่ขนมจีน)ปลาร้า ส้มตำ(อิสานเรียกว่าตำบักหุ่ง) ซุปหน่อยไม้ พล่า

    8. การแต่งกายของคนอิสานมีลักษณะอย่างไร
    ตอบ ผู้ชาย:สวมเสื้อแขนสั้นสีเข้ม และสวมกางเกงยาวจรดเข่าสีเดียวกัน เรียกว่า ชุดม่อฮ่อม หรืออาจจะนุ่งโสร่ง นิยมใช้ผ้าคาดเอวด้วยผ้าขาวม้า
    ผู้หญิง: นุ่งซิ่น สวมเสื้อแขนยาว หรือสามส่วน คอเปิด ห่มสไบ สวมเครื่องประดับ มักเกล้าผมมวย หรือผมยาว หรือแต่งกายตามชุดประจำเผ่าของตน

    9. คนอิสานจะนับถือศาสนาพุทธ จึงมีการทำบุญตามจารีตประเพณีทุกเดือน(12 เดือน) ซึ่งถือเป็นครรลอง หรือแนวปฏิบัติ ที่เรียกว่าอะไร
    ตอบ ประเพณีฮีตสิบสองคองสิบสี่ ฮีต มาจากคำว่า จารีต เป็นประเพณีที่ดีงามนำสืบต่อกันทั้ง 12 เดือน ได้แก่
    เดือนอ้าย - บุญข้าวกรรม(กิจของสงฆ์)
    เดือนยี่ - บุญคูณลาน(หลังเก็บเกี่ยวแล้ว)
    เดือนสาม - บุญข้าวจี่
    เดือนสี่ - บุญผะเหวด(เทศน์มหาชาติ)
    เดือนห้า - บุญสงกรานต์
    เดือนหก - บุญบั้งไฟ
    เดือนเจ็ด - บุญซำฮะ(ชำระสิ่งที่ไม่ดี)
    เดือนแปด - บุญเข้าพรรษา
    เดือนเก้า - บุญประดับดิน(อุทิศส่วนกุศล)
    เดือนสิบ - บุญข้าวสาก(สลากภัต)
    เดือนสิบเอ็ด - บุญออกพรรษา
    เดือนสิบสอง - บุญกฐิน(ตั้งแต่ออกพรรษา – 15 ค่ำ เดือน 12)
    ส่วนคองสิบสี่ หมายถึงครองธรรม 14 อย่าง ของบุคคลผู้ปกครองกับอยู่ใต้การปกครอง

    10. ดนตรีพื้นเมืองของภาคอิสานซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของภาคมีอะไรบ้าง
    ตอบ แคน โปงลาง พิณ โหวด หืน ปี่ไม้ซาง กลองตุ้ม กลองยาว ฯลฯ

    11. นาฎศิลป์ หรือการแสดงของภาคอิสานจะมีลักษณะการฟ้อนที่นุ่มนวลงดงามส่วนการเซิ้งหรือ หมอรำจังหวะจะเร็ว สนุกสนานครึกครื้น มีนาฎศิลป์สำคัญอะไรบ้าง
    ตอบ หมอรำ(ลำกลอน ลำเพลิน ลำเต้ยฯลฯ) เซิ้งโปงลาง ฟ้อนภูไท เซิ้งบั้งไฟ เรือมอันเร กันตรึม ฯลฯ

    12. ภาคอิสาน มีประเพณีที่สำคัญเป็นลักษณะโดดเด่นของแต่ละจังหวัดมีอะไรบ้างซึ่งเป็นประเพณีที่มีชื่อเสียง
    ตอบ ยโสธร - ประเพณีบุญบั้งไฟ
    ร้อยเอ็ด - ประเพณีทำบุญผะเหวด(เทศน์มหาชาติ)
    สกลนคร - ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง
    เลย - ประเพณีการเล่นผีตาโขน
    มหาสารคาม - ประเพณีทำบุญเบิกฟ้า
    นครพนม - ประเพณีไหลเรือไฟ
    อุบลราชธานี - แห่เทียนเข้าพรรษา(แกะสลักเทียน)
    หนองคาย - ประเพณีทำบุญบั้งไฟพญานาค(ช่วงออกพรรษา)

    13. ประเพณีผูกเสี่ยว ของภาคอิสาน เป็นประเพณีเกี่ยวกับอะไร และมีความเชื่ออะไร
    ตอบ เป็นประเพณีเกี่ยวกับการคบกันให้มีความรักใคร่แนบแน่นซึ่งพึ่งพาช่วยเหลือ กันโดยมีหมอสู่ขวัญ มาทำพิธีให้คู่เสี่ยว นั่งหมอบ ห้อมล้อมด้วยญาติทั้ง 2 ฝ่าย มีการกล่าวคำเชิญเทวดาใช้ด้ายผูกข้อมือของคู่เสี่ยวพร้อมๆกัน พร้อมทั้งให้ศีลให้พร มีความเชื่อว่า “บ่มีผมให้ตื่มซ้อง(ถ้ามีผมน้อยให้หาผมปลอมมาเสริม) บ่มีพี่มีน้องให้ตื่มเสี่ยวสหาย(ถ้ามีพี่น้องจำนวนน้อย ต้องผูกเสี่ยวหาสหายเพิ่ม)

    ภาคกลาง

    1. ลักษณะภูมิประเทศของภาคกลางมีลักษณะเป็นอย่างไรบ้าง
    ตอบ เป็นที่ราบลุ่ม แม่น้ำ สลับกับเนินเขา บริเวณตอนล่าง เป็นที่ราบกว้างที่เกิดจากการทับถมของตะกอน กลายเป็นดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ เจ้าพระยา

    2. ชนในภาคกลางมีเชื้อสายใดบ้าง
    ตอบ ส่วนใหญ่มีเชื้อสายไทยผสมผสานจากชนหลายภาค มีหลายเชื้อชาติ เช่นจีน ลาว เขมร มอญ เวียดนาม มุสลิม จะอาศัยอยู่บริเวณที่ราบลุ่มภาคกลาง ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญของประเทศ

    3. ลักษณะนิสัยของคนภาคกลางเป็นอย่างไร
    ตอบ มีน้ำใจ เมตตากรุณา ยิ้มแย้ม เป็นมิตร มักมีจิตเป็นกุศลชอบทำบุญ

    4. ภาษาพูดของชนภาคกลาง นิยมพูดสื่อสารกันโดยใช้ภาษาใด
    ตอบ ส่วนใหญ่ใช้ภาษาไทยกลาง และเป็นภาษาที่ใช้ในราชการใช้ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน

    5. สถาปัตยกรรมในการสร้างบ้านเรือนของชนภาคกลางมีลักษณะเป็นอย่างไร
    ตอบ มักนิยมปลูกบ้านใต้ถุนสูง เพราะป้องกันน้ำท่วมและสัตว์มีพิษจะมีลักษณะเป็นเรือนยกพื้นใต้ถุนสูง หลังคาทรงสูง มีลักษณะเด่น คือ มีหน้าจั่ว มีหน้าต่างรอบทิศเพื่อถ่ายเทอากาศได้สะดวก นอกจากนั้นยังมี เรือนแพปลูกริมแม่น้ำ

    6. อาหารของชนภาคกลางมักจะนิยมรับประทานอะไรบ้าง
    ตอบ มีความหลากหลาย มีทั้งรสเค็ม เปรี้ยว หวาน เผ็ด รวมกันที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายเช่น ต้มยำกุ้ง น้ำพริกปลาร้า น้ำพริกลงเรือ น้ำพริกมะขามสด สะเดา-น้ำปลาหวาน แกงกะทิ แกงเลียง แกงส้ม ส่วนขนมหวาน ได้แก่ ปั้นขลิบ ข้าวตังหน้าตั้ง ข้าวเหนียว-มะม่วง,ทุเรียน ขนมชั้น ขนมสอดไส้ ขนมเปียกปูน ลอดช่อง ขนมปลากริมไข่เต่า บัวลอย ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ฯลฯ

    7. การแต่งกายของชนภาคกลางมีลักษณะเป็นอย่างไร
    ตอบ ผู้ชาย : เดิมนุ่งโจมกระเบนด้วยผ้าม่วง และสวมเสื้อขาวกระดุม 5 เม็ด เรียกว่าชุด “ราชปะแตน” แต่ปัจจุบันแต่งตามสมัยนิยมแบบสุภาพ
    ผู้หญิง : เดิม นุ่งผ้าซิ่นยาว ห่มสไบเฉลียง ปัจจุบันแต่งตามสมัยนิยมแบบสุภาพ

    8. เครื่องดนตรีของชนภาคกลางส่วนใหญ่มีอะไรบ้าง
    ตอบ ระนาดเอก ขลุ่ย ปี่ ซอ จะเข้ ขิม ฆ้อง เ ครื่องสาย วงปี่พาทย์ กลองยาว โทน ตะโพน เปิงมาง ฆ้องวงใหญ่ โทนรำมะนา โทน กลองแขก ซอสามสาย ซอด้วง ซออู้

    9. นาฏศิลป์ของภาคกลาง มีการแสดงอะไรบ้างที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์
    ตอบ โขน ละครชาตรี ละครนอก ละครใน ลิเก หุ่น หนังใหญ่ รำกลองยาว รำวง
    เต้นกำรำเคียว เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเรือ เพลงฉ่อย เพลงอีแซว ลำตัด เถิดเทิง สะบ้า (เป็นของมอญ)

    10. ขนบธรรมเนียมประเพณีที่สำคัญ ของภาคกลางมีอะไรบ้าง
    ตอบ ทำบุญในเทศกาลต่างๆ เช่น วันสงกรานต์ วันตรุษ วันสารท วันขึ้นปีใหม่ ประเพณีแข่งเรื่อ ประเพณีวิ่งควาย(จังหวัดชลบุรี) ประเพณีกำฟ้า(การนับถือผีสาง เทวดา ของชาวไทยพวน) ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ(จังหวัดเพชรบูรณ์) ลอยกระทงสาย(จังหวัดตาก) ประเพณีทิ้งกระจาด(อุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ล่วงลับของไทยเชื้อสายจีน) ประเพณีโยนบัว รับบัว (ชาวอำเภอบางพลี จ.สมุทรปราการ)ประเพณีแห่สิงห์โต(จังหวัดนครสวรรค์) ประเพณีทำบุญลานข้าว รับขวัญข้าว ประเพณีตักบาตรดอกไม้(ช่วงออกพรรษา จ.สระบุรี และ จ.อุทัยธานี)ทำบุญเทศน์มหาชาติ ฯลฯ นอกนั้นจะเป็นประเพณีทำบุญในวันสำคัญทางศาสนา

    ภาคใต้

    1. ลักษณะภูมิประเทศของภาคใต้เป็นอย่างไร
    ตอบ เป็นคามสมุทรลักษณะเป็นพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำ ติดกับชายฝั่งทะเลทั้งด้านตะวันออก (อ่าวไทย)กับ ด้านตะวันตก(จดทะเลอันดามัน) เหมาะกับการประกอบอาชีพ ประมงและการเกษตรการทำธุรกิจท่องเที่ยว

    2. ภูมิอากาศของภาคใต้เป็นอย่างไร
    ตอบ เป็นลักษณะอากาศแบบมรสุมเมืองร้อน ฝนตกชุก สลับกัน ไม่มีฤดูหนาว จังหวัดที่มีประชากรมากที่สุดของภาคใต้คือ นครศรีธรรมราช จังหวัดที่ประชากรหนาแน่นที่สุดคือภูเก็ต ส่วนประชากรน้อยที่สุดคือ ระนอง

    3. ชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณภาคใต้เป็นชนกลุ่มใดกันบ้าง
    ตอบ แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆคือ
    1. กลุ่มชาวน้ำ/กลุ่มชาวเล (อาศัยอยู่ติดกับชายทะเล)บางทีเรียกว่า ชาวไทยใหม่ ได้แก่อาศัยบริเวณจังหวัดสะตูล และ อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา หาดราไวย์ เกาะสิเหร่จะภูเก็ต
    2. กลุ่มชาวถ้ำ อาศัยอยู่ดั้งเดิม เป็นชนเผ่า พวกเงาะซาไก อยู่ อ.บันนังสตา อ.เบตง แถบจังหวัด ยะลา และแถบ อ.ประเหลียน จ.ตรัง

    4. ภาคใต้มีพรมแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านของไทย คือประเทศอะไร
    ตอบ ประเทศสหพันธ์รัฐมาเลเซีย

    5. ภาษาของคนภาคใต้นิยมใช้ภาษาใดบ้าง
    ตอบ ส่วนใหญ่ใช้ภาษาปักใต้ และชนในพื้นที่ซึ่งติดชายแดนประเทศมาเลเซีย จะใช้ภาษายาวี หรือภาษามาลายู

    6. ลักษณะนิสัยของคนภาคใต้มีลักษณะเป็นอย่างไร
    ตอบ เป็นผู้ที่มีครอบครัวขนาดใหญ่ รักใคร่ ปรองดอง อบอุ่น มีคุณธรรม รักพวกพ้อง ขยันขันแข็ง ฉลาดอดทน

    7. ลักษณะสถาปัตยกรรมการสร้างบ้านของคนภาคใต้ สร้างบ้านแบบใด
    ตอบ ที่นิยมสร้างมี 3 แบบ เพราะว่ามีความเชื่อและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันได้แก่
    1. หลังคาทรงปั้นหยา - ได้รับอิทธิพลมาจากชาติตะวันตก มักมีมาก จ. สงขลา
    2. หลังคาจั่วมนิลา(บลานอร์)- ได้รับอิทธิจากสถาปัตยกรรมของชาติฮอลันดาส่วนใหญ่มีมาก จ.ปัตตานี
    3. หลังคาจั่ว(แมและ) – ได้รับอิทธิพลจาก เรือนไทยภาคกลาง แต่ไม่นิยมทำปั้นลมและตัวเหงา
    ส่วนใหญ่เน้นการสร้างหลังคาบ้านให้สูงชันเพื่อระบายน้ำได้ดี มีชายคาเตี้ยประตูหน้าต่างจะแคบเปิดเข้าด้านใน

    8. อาหารของชนภาคใต้ส่วนใหญ่นิยมรับประทานอาหารแบบไหนกันบ้าง
    ตอบ ภาคใต้คนนิยมรับประทานอาหารรสชาติ เผ็ดจัด เค็ม เปรี้ยว แต่ไม่นิยม รสหวาน นิยมทานควบคู่ไปกับผักเพื่อลดความเผ็ดร้อนเช่น มะเขือเปราะ ถั่วฝักยาว ถั่วพูอาหารของภาคใต้ได้แก่ แกงเหลือง แกงไตปลา ข้าวยำราดด้วยน้ำบูดู น้ำพริกกุ้งเสียบ ผัดสะตอ มักมีเครื่องปรุงเป็นเครื่องเทศ เช่น ขมิ้น พริกขี้หนู พริกไทย กะปิ ส้มแขก แกงหมูกับลูกเนียง แกงคั่วกลิ้งฯลฯ

    9. การแต่งกายของชนภาคใต้มีการแต่งกายเป็นแบบใด
    ตอบ ชนชาวมุสลิม ผู้ชายสวมกางเกงขายาว หรือ นุ่งโสร่งหรือผ้าปาลิกัตแบบหยักรั้ง สวมเสือแขนยาวโพกศีรษะหรือสวมหมวก
    หญิง สวมเสื้อแขนยาว(เสื้อยาหยาหรือเสื้อบานง) นุ่งโสร่งปาเต๊ะ คลุมผ้าที่ศีรษะ
    แต่ในปัจจุบันมีการแต่งกายตามแบบสากลมากขึ้น

    10. ประเพณีสำคัญซึ่งมีลักษณะโดดเด่นเฉพาะของภาคใต้มีอะไรบ้าง
    ตอบ มีมากมาย ได้แก่
    - ประเพณีชักพระ(จ.ระนอง จ.ชุมพร จ.สุราษฎร์ธานีและ จ.นครศรีธรรมราช)
    - ประเพณีทำบุญเดือนสิบ(ทำบุญข้าวสากหรือตานก๋วยสลากหรือรับ-ส่งตายาย)นิยมทำขนมลา ขนมพอง ขนมดีซำ ขนมกง และมักมีการ “ชิงเปรต”
    - ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ(จ.นครศรีธรรมราช)
    - ประเพณีฮารีรายอ(การฉลองปีใหม่ของมุสลิม
    - ประเพณีถือศีลกินเจ (จ.ตรัง จ.ภูเก็ต)
    - ประเพณีแห่นก(จ.ปัตตานี จ.ยะลา และ จ.นราธิวาส)
    - ประเพณีถือศีลอด(รอมฎอนของมุสลิม)

    11. เครื่องดนตรีของชาวภาคใต้ส่วนใหญ่มีอะไรบ้าง
    ตอบ ได้แก่ ทับ กลองโนรา โหม่ง ปี่ กลองปิด กลองโทน ทับ กรับ พวง ปี่กาหลอ ปี่ไหน รำมะนา

    12. นาฏศิลป์ หรือ การแสดงของภาคใต้มีลักษณะเป็นอย่างไร อะไรบ้าง
    ตอบ มักรับวัฒนธรรมมาจากมาลายู จะมีการแสดงออก แบบรวดเร็ว เด็ดขาด คล่องแคล่ว ได้แก่ มโนราห์ ลิเกป่า ลิเกฮูลู หนังตะลุง รองเง็ง เพลงบอก ระบำตารีกีปัส ระบำร่อนแร่ ระบำซัดชาตรี รำมโนราห์บูชายัญ

    13. การละเล่นของภาคใต้มีอะไรบ้าง
    ตอบ ได้แก่ อีฉุด ฉับโผง กำทาย กรือโต๊ะ หมาชิงมุม

    คุณธรรมจริยธรรมในการอยู่ร่วมกันตามหลักศาสนา
    1. ศาสนาพุทธ

    1. ศาสนาพุทธมีคัมภีร์ประกอบไปด้วยกี่ปิฎก อะไรบ้าง
    ตอบ 3 ปิฏก ได้แก่
    1. พระวินัยปิฏก คือ วินัยของสงฆ์
    2. พระสุตตันตปิฏก คือ การเทศนาเรื่องต่างๆแก่สาวก
    3. พระอภิธรรมปิฏก คือ สภาวธรรมที่เป็นจริง

    2. นิกายใหญ่ๆของศาสนาพุทธในไทยมีนิกายอะไรบ้าง
    ตอบ 2 นิกาย
    1. นิกายเถรวาท หรือหินยาน คือยึดถือคำสอนแบบดั้งเดิมโดยไม่เปลี่ยนแปลงใดๆ
    2. นิกายอาจริยวาทหรือมหายาน คือ นิกายใหม่ที่ประยุกต์คำสอน

    3. หัวใจของพระพุทธศาสนามีกี่อย่างอะไรบ้าง
    ตอบ 3 อย่าง ได้แก่
    1. ทำความดี
    2. ละเว้นความชั่ว
    3. ทำจิตใจให้สงบอย่างผ่องใส

    4. ธรรมที่ส่งเสริมให้ชาวพุทธประพฤติ ปฏิบัติดีมีอะไรบ้าง
    ตอบ 1. เบญจศีล(การละเว้นความชั่ว)ได้แก่
    - ไม่ฆ่าสัตว์
    - ไม่ลักทรัพย์
    - ประพฤติผิดในกาม
    - ไม่พูดเท็จ
    - ไม่เสพสุราเมรัย
    2. เบญจธรรม(การทำความดี)
    - มีเมตตากรุณา
    - ประกอบอาชีพชอบ
    - สำรวมในกาม
    - มีความสัจจะ
    - มีสติสัมปชัญญะ

    5. หลักธรรมที่เกื้อกูลหรือยึดเหนี่ยวน้ำใจกันเรียกว่าอะไรประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
    ตอบ หลักสังคหวัตถุ 4 มี 4 อย่าง ได้แก่
    - ทาน - การให้
    - ปิยวาจา - วาจาไพเราะ
    - อัตถจริยา - ทำตนให้เป็นประโยชน์
    - สมานัตตตา - ทำตนเสมอต้นเสมอปลาย

    ศาสนาอิสลาม

    1. คำว่า “ อิสลาม” มีความหมายว่าอะไร
    ตอบ หมายถึงการยอมจำนนต่อพระเจ้า ซึ่งก็คือ “พระอัลลอฮ” (เป็นผู้ค้ำจุนฟื้นฟูโลก) และมีศาสนาทูตองค์สุดท้าย ของศาสนาอิสลาม ก็คือ พระนบีมุฮัมมัด ผู้ได้รับมอบหมายจากพระอัลลอฮ์

    2. ศาสนาอิสลามมีความเชื่อในหลักธรรมสำคัญใด ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
    ตอบ หลักศรัทธา 6 ได้แก่
    1. ศรัทธาในพระเจ้าองค์เดียว
    2. ศรัทธาในศาสนาองค์สุดท้ายคือพระนบีมูฮัมมัด
    3. ศรัทธาในคัมภีร์อัลกุรอาน
    4. ศรัทธาคำสอนจากพระนบีมูฮัมมัด
    5. ศรัทธาต่อวันพระเจ้าพิพากษาโลก
    6. ศรัทธาว่าโลกและชีวิตเป็นไปตามเจตจำนงของพระอัลเลาะห์

    3. หลักปฏิบัติ 5 ของ ศาสนาอิสลาม ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
    ตอบ หลักปฏิบัติ 5 ได้แก่
    1. ประกาศปฏิญาณตนว่าจะศรัทธาเชื่อมั่นในพระอัลเลาะห์และพระนบีมูฮัมมัด 1 ครั้ง ในชีวิต ต่อหน้าพยาน 2 คน
    2. สวดมนต์หรือละหมาดวันละ 5 ครั้ง
    3. การบริจาคทานหรือจ่ายซะกาตเพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้
    4. การถือศีลอด(ในเดือนรอมฎอน)
    5. การทำพิธีฮัจญ์(การแสวงบุญที่เมือกเมกกะ ซาอุดีอาระเบีย สัก 1 ครั้ง ในชีวิต

    4. คำสอนของศาสนา 3 ข้อในการอยู่ร่วมกันของศาสนาอิสลาม มีอะไรบ้าง
    ตอบ หลักการอยู่ร่วมกันมี 3 ประการ ได้แก่
    1. การบริจาคทาน
    2. การปฏิบัติต่อผู้อื่น
    3. การประนีประนอม

    ศาสนาคริสต์

    5. ศาสนาคริสต์สอนให้เชื่อในพระเจ้าองค์เดียวแต่มี 3 บุคคลใดบ้าง
    ตอบ 3 บุคคล คือ
    1. พระบิดา(พระยะโฮวา)ผู้สร้างมนุษย์สร้างโลก
    2. พระบุตร (พระเยซูผู้ไถ่บาปของมนุษย์)
    3. พระจิตร(ผู้เสด็จมาเพื่อนำทางช่วยเหลือมนุษย์ไปสู่พระเจ้า)

    6. หลักการอยู่ร่วมกันของศาสนาคริสต์ 3 ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
    ตอบ 1. ความรัก 2. การให้อภัย 3. การแบ่งปัน

    7. ศีลศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาคริสต์ มีทั้งหมด 7 ศีล มีอะไรบ้าง
    ตอบ 1. ศีลล้างบาป เป็นพิธีกรรมแรกที่คริสต์ชนต้องรับ
    2. ศีลกำลัง การเจิมด้วยน้ำมันเพื่อเป็นเครื่องหมายว่ารับพระจิตของพระเจ้าเข้าเป็นชาวคริสต์โดยสมบูรณ์
    3. ศีลมหาสนิท(มีสซา) การที่ชาวคริสต์ต้องเข้าร่วมพิธีกรรมในโบสถ์ทุกวันอาทิตย์
    4. ศีลแก้บาป พิธีที่ชาวคริสต์สำนึกบาปแล้วเข้าสารภาพแก่บาทหลวง
    5. ศีลเจิมคนไข้ พิธีเจิมคนไข้ด้วยน้ำมันมีกลิ่นหอม
    6. ศีลบวช พิธีกรรมที่เลือกบุคคลเพศชายเพื่อบวชเป็นบาทหลวง
    7. ศีลสมรส พิธีกรรมที่ ชาย-หญิง ให้คำมั่นสัญญาว่าจะเป็นสามีภรรยากันต่อหน้าบาทหลวง

    หน้าที่ของชาวไทยตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ

    1. หน้าที่ของคนไทยตามกฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดไว้มีกี่ข้อ อะไรบ้าง
    ตอบ มี 10 ข้อได้แก่
    1. รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
    2. การปฏิบัติตามกฎหมาย
    3. การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
    4. การป้องกันประเทศ
    5. การรับราชการทหาร
    6. การเสียภาษีอากร
    7. การช่วยเหลือราชการ
    8. การเข้ารับการศึกษาอบรม
    9. การพิทักษ์ ปกป้อง และสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติและภูมิปัญญา
    10. การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

    2. การบำเพ็ญให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติสามารถทำได้โดยวิธีใด มีกี่ข้อ
    ตอบ 3 ประการได้แก่
    1. การไม่สร้างภาระให้แก่ประเทศชาติ
    2. รักษาประโยชน์ของประเทศชาติ
    3. สร้างเสริมประโยชน์ให้ประเทศชาติ


    เรื่องที่ 2
    เราอยู่ในสังคมทางการเมือง


    1. องค์ประกอบของรัฐ หรือประเทศ มีอะไรบ้าง และมีกี่อย่าง
    ตอบ มี 4 อย่าง ได้แก่
    1. ประชากรหรือประชาชน
    2. ดินแดนหรืออาณาเขต
    3. อำนาจอธิปไตย
    4. รัฐบาล

    2. ประโยชน์ในการอยู่ร่วมกันในสังคมมีอยู่กี่ประการ อะไรบ้าง
    ตอบ มี 3 ประการ ได้แก่
    1. ความมั่นคงปลอดภัย
    2. ความเป็นอยู่ที่ดี
    3. ความสงบสุข

    การปกครองระบอบประชาธิปไตย

    3. ระบอบการปกครองส่วนใหญ่แบ่งออกได้กี่ระบอบอะไรบ้าง
    ตอบ 1. ระบอบประชาธิปไตย เป็นการปกครองประเทศที่มีอำนาจสูงสุด(อำนาจอธิปไตย)มาจากประชาชน
    2. ระบอบเผด็จการ การปกครองประเทศที่อำนาจสูงสุดมาจากผู้นำหรือผู้ปกครองซึ่งมีอำนาจเด็ดขาด มุ่งเพื่อรักษาความมั่นคงและประโยชน์ให้ประเทศหรือกลุ่มของตนมากกว่าเพื่อ ประชาชน

    4. ระบอบประชาธิปไตยแบ่งออกได้กี่รูปแบบ อะไรบ้าง
    ตอบ 2 รูปแบบ ได้แก่
    1. รูปแบบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เช่นอังกฤษ เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม เดนมาร์ก นอร์เวย์ สวีเดน ญี่ปุ่น มาเลเซีย
    2. รูปแบบประชาธิปไตยที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุข เช่น ฝรั่งเศส ฟิลิปปินส์ สหรัฐอเมริกา

    5. แนวความคิดพื้นฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตยมีว่าอะไรบ้าง
    ตอบ เชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมีเกียรติและศักดิ์ศรีและมีคุณค่าความเป็นมนุษย์เท่าๆกัน

    6. ระบอบประชาธิปไตยเน้นให้มนุษย์มีความเท่าเทียมกันในเรื่องใดบ้าง
    ตอบ 3 อย่างได้แก่
    1. สิทธิ คืออำนาจอันชอบธรรมที่จะนำสิ่งต่างๆของตนภายใต้กฎหมายเกี่ยวกับร่างกาย,ทรัพย์สินมรดก
    2. เสรีภาพ คือ ความเป็นอิสระในการกระทำที่ตนเองจะทำได้
    3. ความเสมอภาค คือ ความเท่าเทียมกันในด้านต่างๆ ในฐานะเป็นพลเมืองของประเทศ

    7. หลักการสำคัญของระบอบประชาธิปไตย มีว่าอย่างไร
    ตอบ 1. อำนาจอธิปไตยเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ เป็นของ ประชาชน
    2. รัฐบาลมีอำนาจจำกัด
    - ต้องปฏิบัติตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ
    - แยกอำนาจการบริหาร เป็น 3 อำนาจ (อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ)
    - กระจายอำนาจ(การปกครองส่วนกลาง(กระทรวง ทบวง กรม ) )
    - การปกครองส่วนภูมิภาค(จังหวัด,อำเภอ )
    - การปกครองส่วนท้องถิ่น( อบจ,อบต. )

    8. องค์การสิทธิ์มนุษยชนมีการจัดตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ใดเป็นสำคัญ และในไทยมีประธานองค์การชื่อว่าอะไร
    ตอบ เพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชน มีประธานองค์การสิทธิมนุษยชนคือ ศาสตราจารย์เสน่ห์
    จามริก

    9. องค์การสิทธิมนุษยชนระดับโลกมีหน่วยงานใดที่ทำหน้าที่ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
    ตอบ องค์การสหประชาชาติ

    10. การมีส่วนร่วมเพื่อช่วยคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ประกอบไปด้วยการคุ้มครองสิ่งใดบ้าง
    ตอบ 2 กลุ่มคือ
    1. การคุ้มครองปกป้องตนเองตามหลักสิทธิมนุษยชน
    - การรักเกียรติ, ศักดิ์ศรีของตนเอง
    - การระมัดระวังตนเองหลีกเลี่ยงอันตราย
    - การป้องกันตนเอง
    - การขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น
    2. การคุ้มครองปกป้องผู้อื่นตามหลักสิทธิมนุษยชน
    - การเคารพในสิทธิ, เสรีภาพของผู้อื่น
    - การเผยแผ่แนวคิดเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
    - ช่วยเหลือผู้อื่น
    - ให้คำแนะนำในการปกป้องคุ้มครองตนเอง

    11. ระบอบเผด็จการคือการปกครองแบบไหน
    ตอบ เป็นระบอบการปกครองที่รวมอำนาจไว้ที่บุคคลเพียงคนเดียวหรือกลุ่มเดียวซึ่ง ใช้อำนาจนั้นในการควบคุม บังคับประชาชนด้วยความเด็ดขาด คนใดคัดค้านผู้นำจะถูกลงโทษอย่างรุนแรง

    12. ระบอบเผด็จการแบ่งออกได้กี่แบบอะไรบ้าง
    ตอบ มี 3 รูปแบบ คือ
    1. ระบอบเผด็จการทหาร
    2. ระบอบเผด็จการฟาสซิสต์
    3. ระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์

    13. แนวความคิดพื้นฐานของการปกครองระบอบเผด็จการคืออะไร
    ตอบ เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมามีความแตกต่างกัน เช่น ชาติกำหนด เผ่าพันธุ์ ฐานะสติปัญญา ความสามารถ ฯลฯ ผู้มีสติปัญญาความสามารถเหนือผู้อื่นควรได้รับการยกย่องให้เป็นผู้ปกครอง หรือผู้นำประเทศ ประชาชนต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตาม

    14. หลักการปกครองระบอบเผด็จการที่สำคัญ มีอะไรบ้าง
    ตอบ 1. รัฐบาลหรือผู้นำมีอำนาจสูงสุดและเด็ดขาด
    2. รวมอำนาจการปกครองไว้ที่ศูนย์กลาง
    3. การักษาความมั่นคงของผู้นำ หรือรัฐบาลสำคัญกว่าการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน
    4. ผู้นำหรือผู้ปกครองสามารถมีอำนาจได้ตลอดชีวิต
    5. รัฐธรรมนูญและการเลือกตั้ง ส.ส. มีการจัดตั้งขึ้นแต่ไม่มีความสำคัญต่อกระบวนการการปกครองเหมือนระบอบประชาธิปไตย

    15. ข้อดีของระบอบเผด็จการมีอะไรบ้าง
    ตอบ 1. รัฐบาลหรือผู้นำตัดสินใจได้รวดเร็วเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
    2. สามารถบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิผลด้วยความเด็ดขาดในการแก้ไขปัญหาต่างๆ เช่น ปราบจลาจล ยาเสพติด อาชญากรรม

    16. ข้อเสียของระบอบเผด็จการมีอะไรบ้าง
    ตอบ 1. ปกครองโดยบุคคลเพียงกลุ่ม หรือคนเดียวมีโอกาสผิดพลาด
    2. ผู้นำใช้อำนาจกดขี่ ลิดรอน สิทธิเสรีภาพ
    3. ไม่เปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปที่มีคุณสมบัติเข้าไปดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้
    4. ประชาชนส่วนใหญ่ถูกกดขี่ และขาดสิทธิเสรีภาพ

    17. ข้อดีของระบอบประชาธิปไตย มีอะไรบ้าง
    ตอบ 1. เปิดโอกาสให้ประชาชนใช้เสียงข้างมากเลือกผู้ปกครองไปบริหารประเทศ
    2. เปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคนใช้สิทธิเสรีภาพได้อย่างเสมอภาคกัน
    3. ใช้กฎหมายเป็นมาตรฐานในการดำเนินการปกครอง
    4. สามารถระงับข้อขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับประชาชนโดยสันติวิธี

    18. ข้อเสียของระบอบประชาธิปไตยมีอะไรบ้าง
    ตอบ 1. ล่าช้าในการตัดสินใจ เพราะต้องผ่านขั้นตอนมาก
    2. เสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการในการปกครอง เช่นเลือกตั้ง
    3. ไม่เหมาะที่จะนำไปใช้กับประเทศยากจนหรือด้วยการศึกษา



    Poring~Raider*
    Poring~Raider*
    .....
    .....


    Posts : 498
    Joined : 08/02/2009
    Location : ข้างๆมิกุจัง=[]=!!
    Karma : 2

    สรุปเนื้อหาวิชาสังคมและพระพุทธของอ.ลัดดา Empty Re: สรุปเนื้อหาวิชาสังคมและพระพุทธของอ.ลัดดา

    ตั้งหัวข้อ  Poring~Raider* Fri Jul 09, 2010 5:38 pm

    สรุปเนื้อหาวิชาสังคมศึกษา ส33101 (ต่อ)

    กฎหมายในบ้านเมืองไทย
    เรื่องที่ 4


    กฎหมายในบ้านเมืองไทย

    1. กฎหมายคืออะไร
    ตอบ คือเครื่องมือสำคัญที่รัฐใช้เป็นเครื่องมือเพื่อจัดระเบียบการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมในบ้านเมืองหรือในประเทศชาติ

    2. ความหมายของกฎหมายมีกี่อย่างอะไรบ้าง
    ตอบ มี 5 อย่างได้แก่
    1. เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐซึ่งทุกคนต้องปฏิบัติตาม
    2. เป็นข้อบังคับของรัฐโดยผู้มีอำนาจสูงสุดของรัฐ
    3. เป็นข้อบังคับที่กำหนดความประพฤติของคน
    4. เป็นข้อบังคับที่ใช้โดยทั่วไปและตลอดไปใช้กับทุกคน
    5. เป็นสภาพบังคับถ้าใครละเมิดหรือฝ่าฝืนจะได้รับโทษตามที่กำหนดไว้

    3. ความสำคัญของกฎหมายซึ่งใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดระเบียบบ้านเมืองให้คนอยู่ร่วมกันได้เพราะเหตุใด
    ตอบ 1. เป็นกติกาสำคัญในการกำหนดการกระทำของบุคคล
    2. เป็นเครื่องมือคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพของประชาชนทุกคน
    3. เป็นกลไกทำให้สังคมเป็นระเบียบและสงบสุข
    4. เป็นแนวทางให้ประพฤติ ปฏิบัติของคนในสังคม
    5. เป็นกฎหมายหลักในการผดุงความยุติธรรม

    4. ประเภทของกฎหมายมีกี่ประเภทในระดับ ม.3 แบ่งแบบใด
    ตอบ มี 2 แบบ คือ
    1. กฎหมายมหาชน
    2. กฎหมายเอกชน

    5. กฎหมายมหาชนคืออะไร
    ตอบ คือกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับหน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐกับประชาชน

    6. กฎหมายมหาชนมีอะไรบ้าง
    ตอบ มีดังนี้
    1. กฎหมายรัฐธรรมนูญ
    2. กฎหมายปกครอง
    3. กฎหมายอาญา
    4. กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา
    5. กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความแพ่ง
    6. กฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลยุติธรรมเป็นต้นว่า พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ
    พ.ร.บ.การพนัน พ.ร.บ.หวยเถื่อน พ.ร.บ.สุราเถื่อนฯลฯ

    7. กฎหมายเอกชนคืออะไรมีกี่ประเภทอะไรบ้าง
    ตอบ คือกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนซึ่งมีฐานะเท่าเทียมกัน แบ่งได้ 2 ประเภทคือ 1. กฎหมายแบ่งเป็นกฎหมายที่มีบัญญัติถึงสิทธิ หน้าที่ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
    2. กฎหมายพาณิชย์เป็นกฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับการค้าและธุรกิจอาจส่งผลกระทบของคนในวงกว้าง

    กฎหมายที่ออกโดยองค์กรต่างๆ

    1. กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติมีขั้นตอนในการออกกฎหมายอย่างไร
    ตอบ ออกโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นฝ่ายร่างขึ้นและถูกกลั่นกรองโดยสมาชิก วุฒิสภาเมื่อเห็นชอบแล้วเสนอให้นายกรัฐมนตรีนำทูลเกล้าให้พระมหากษัตริย์ลง พระปรมาภิไธย ออกเป็นกฎหมาย เรียกว่า “พระราชบัญญัติ”

    2. กฎหมายที่ออกโดยคณะรัฐมนตรี สามารถออกได้กี่ลักษณะอะไรบ้าง
    ตอบ ออกได้ 3 ลักษณะ ได้แก่
    1. พระราชกำหนด
    2. พระราชกฤษฎีกา
    3. กฎกระทรวง

    3. พระราชกำหนดเป็นกฎหมายที่คณะรัฐมนตรีออกในลักษณะใด
    ตอบ ออกกรณีรีบด่วน ฉุกเฉิน เพื่อประโยชน์ของประเทศ หลังจากคณะรัฐมนตรีร่างออกมาแล้วต้องผ่านการพิจารณาจากรัฐสภาหากไม่เห็นด้วย ก็เป็นอันตกไปแต่ถ้าเห็นด้วย กฎหมายก็จะสามารถบังคับใช้ได้เรียกว่า “พระราชกำหนด”

    4. กฎหมายที่ตราออกมาโดยคณะรัฐมนตรี แต่ไม่ต้องผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาเลย แล้วนำเสนอนายกรัฐมนตรี นำทูลพระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยแล้วประกาศใช้ได้เรียกว่าอะไร
    ตอบ พระราชกฤษฎีกา

    5. กฎกระทรวงเป็นกฎหมายที่ออกโดยผ่านขั้นตอนอย่างไร
    ตอบ ออกโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแต่ต้องผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีแล้วจึงบังคับใช้ได้

    6. หนังสือใดที่หลังจากนำร่างกฎหมายให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยแล้วจะ ต้องนำกฎหมายดังกล่าวลงประกาศในหนังสือเล่มนี้เสนอจึงเรียกว่าประกาศใช้แล้ว
    ตอบ หนังสือพระราชกิจจานุเบกษา

    7. กฎหมายที่ออกโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หมายความว่าอย่างไร
    ตอบ เป็นรูปแบบการปกครองที่ส่งเสริมให้ประชาชนปกครองตนเอง โดยช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆตามความต้องการของท้องถิ่นและสร้างความเจริญก้าวหน้า โดยจะต้องสอดคล้องกับ
    1. ความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น
    2. เป็นนโยบายของส่วนกลาง

    8. องค์การการปกครองส่วนท้องถิ่นของไทย แบ่งได้กี่รูปแบบ อะไรบ้าง
    ตอบ มีทั้งหมด 5 รูปแบบดังนี้
    1. องค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.)
    2. องค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.)
    3. เทศบาล
    4. กรุงเทพมหานคร
    5. เมืองพัทยา

    9. องค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.)มีลักษณะเป็นอย่างไร
    ตอบ มีฐานะเป็นนิติบุคคลมีทรัพย์สินและข้าราชการเป็นของตนเองประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดและสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด

    10. องค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.)มีลักษณะเป็นอย่างไร
    ตอบ มีฐานะเป็นนิติบุคคลเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นประกอบไปด้วยนายกองค์การบริหารส่วนตำบลกับสภาองค์การบริหารส่วนตำบล

    11. เทศบาลมีลักษณะเป็นอย่างไรและมีกี่
    ตอบ มีฐานะเป็นทบวงการเมืองและนิติบุคคล แบ่งออกได้ 3 ประเภทดังนี้
    1. เทศบาลตำบลตั้งขึ้นโดยดุลยพินิจของรัฐบาลเลือกตั้งมาจากประชาชนโดยตรงอยู่ใน วาระ 4 ปี ประกอบไปด้วยนายกเทศมนตรีและสภาเทศบาล จำนวน 12 คน มีของนายกฯได้ไม่เกิน 2 คน
    2. เทศบาลเมืองเป็นที่ตั้งของศาลากลางทุกจังหวัดและมีชุมชนราษฎร จำนวนตั้งแต่ 10,000 คน ขึ้นไป ประกอบด้วยนายกเทศมนตรีและสภาเทศบาลจำนวน 18 คน เลือกตั้งมาจากประชาชนโดยตรงอยู่ในวาระ 4 ปี มีรองนายกฯได้ไม่เกิน 3 คน
    3. เทศบาลนคร เป็นท้องถิ่นชุมชนซึ่งมีราษฎรจำนวนตั้งแต่ 50,000 คนขึ้นไป ประกอบด้วย นายกเทศมนตรี และสภาเทศบาล จำนวน 24 คน เลือกตั้งมาจากประชาชนโดยตรง อยู่ในวาระ 4 ปี มีรองนายกฯได้ไม่เกิน 3 คน

    12. กรุงเทพมหานครเป็นการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น แบบไหนมีลักษณะอย่างไร
    ตอบ เป็นการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ มีฐานะเป็นนิติบุคคลแบ่งพื้นที่ออกเป็นเขตและแขวง ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสภากรุงเทพมหานคร(สก.)เลือกตั้งโดยตรงมาจาก ประชาชน อยู่ในวาระ 4 ปี ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งรองผู้ว่าฯได้ไม่เกิน 4 คน

    13. เมืองพัทยามีลักษณะบริหารราชการลักษณะใด ประกอบด้วยอะไรบ้าง
    ตอบ เป็นการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ มีฐานะเป็นนิติบุคคล ประกอบไปด้วยนายกเมืองพิทยาและสภาเมืองพัทยา จำนวน 24 คน เลือกตั้งโดยตรงมาจากประชาชนอยู่ในตำแหน่งวาระละ 4 ปี นายกเมืองพัทยาแต่งตั้งรองนายกฯได้ไม่เกิน 4 คน

    กฎหมายทั่วไปสำหรับประชาชน

    1. บัตรประจำตัวประชาชนคืออะไร
    ตอบ เอกสารของทางราชการที่ใช้พิสูจน์ตัวบุคคลว่าเป็นคนสัญชาติไทยเพื่อยืนยันการ ใช้สิทธิการรับบริการต่างๆเช่น รักษาพยาบาล สมัครเรียน เลือกตั้ง รับพัสดุไปรษณีย์ ธนาณัติ ฯลฯ

    2. บัตรประจำตัวประชาชนประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
    ตอบ รูปถ่าย ส่วนสูง เลขประจำตัว 13 หลัก ชื่อ-สกุล วัน เดือน ปีเกิด ศาสนา กรุ๊ปเลือด ที่อยู่ตามภูมิลำเนา

    3. ผู้ที่ทำบัตรประจำตัวประชาชนจะอยู่ในระหว่างอายุเท่าใด
    ตอบ ตั้งแต่ 15 ปี - 70 ปี

    4. จะไปทำบัตรประจำตัวประชาชนต้องเตรียมเอกสารใดไปบ้าง
    ตอบ สำเนาทะเบียนบ้าน สูติบัตร/เอกสารที่ทางราชการออกให้แล้วมีรูปถ่ายใบสำคัญของบุคคลต่างด้าว

    5. บัตรประจำตัวประชาชนหมดอายุต้องทำบัตรภายในเวลากี่วัน มิเช่นนั้นจะถูกปรับเท่าใด
    ตอบ ภายใน 60 วัน ปรับ 200 บาท (เช่นเดียวกับบัตรหาย/ถูกทำลาย)

    6. หน่วยงานใดของทางราชการเป็นผู้ออกบัตรประจำตัวประชาชน
    ตอบ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

    7. บัตรประจำตัวประชาชน ตั้งแต่วันออกบัตรจนถึงวันหมดอายุมีระยะเวลาการใช้นานกี่ปี
    ตอบ 6 ปี เมื่อหมดอายุแล้วจะต้องทำใหม่ทุกครั้ง

    8. การยื่นขอมีบัตรประจำตัวประชาชน สามารถติดต่อได้ที่ไหน
    ตอบ ที่สำนักงานทะเบียนได้แก่ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ สำนักงานเขต(กรุงเทพมหานคร) สำนักงานเทศบาล ศาลาว่าการเมืองพัทยา

    9. การขอทำบัตรประจำตัวประชาชนครั้งแรก เมื่อบุคคลอายุครบ 15 ปี จะต้องทำภายในกี่วันหลังจากอายุครบ 15 ปีแล้ว หากพ้นกำหนดจะได้รับโทษอย่างไร
    ตอบ ต้องรีบทำภายใน 60 วัน มิเช่นนั้นจะถูกปรับ 500 บาท (ไม่เกิน)

    10. ในการขอยื่นทำบัตรประจำตัวประชาชนต้องนำหลักฐานใดไปบ้าง
    ตอบ 1. สำเนาทะเบียนบ้าน
    2. สูติบัตรหรือเอกสารอื่นซึ่งมีรูปถ่ายทางราชการออกให้
    3. ใบสำคัญประจำตัวของบุคคลต่างด้าวเช่น บิดา มารดา แต่ถ้าไม่มีหลักฐานใดอาจให้เจ้าบ้านหรือบุคคลที่น่าเชื่อถือเช่นผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ไปให้การรับรอง

    11. หากใบประจำตัวหมดอายุลงจะต้องทำใหม่ภายใน 60 วัน แต่ถ้าไม่ทำภายในเวลาดังกล่าวเมื่อตรวจพบจะต้องได้รับโทษอย่างไร
    ตอบ ต้องถูกปรับไม่เกิน 200 บาท เช่นเดียวกับกรณีบัตรหายและถูกทำลาย

    12. หากตรวจบัตรประจำตัวประชาชนแล้วไม่สามารถแสดงได้จะต้องได้รับโทษอย่างไร
    ตอบ ถูกปรับ 100 บาท

    13. ผู้เยาว์คือใคร
    ตอบ ผู้เยาว์ก็คือผู้ที่ยังอ่อนด้วยสติปัญญาและประสบการณ์กฎหมายถือว่าเป็นผู้ที่อายุยังไม่ครบ 20 ปี (ยังไม่บรรลุนิติภาวะ)

    14. บุคคลจะพ้นจากการเป็นผู้เยาว์ได้ 2 กรณี มีอะไรบ้าง
    ตอบ 1. เมื่อมีอายุครบ 20 ปี
    2. เมื่อทำการสมรสถูกต้องตามกฎหมายทั้งหญิงและชายต้องมีอายุ 17 ปี ขึ้นไปโดยความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม

    15. ผู้เยาว์สามารถทำนิติกรรมตามที่กฎหมายอนุญาตมีกี่ลักษณะอะไรบ้าง
    ตอบ มี 2 ลักษณะได้แก่
    1. การทำนิติกรรมโดยได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม
    2. การทำนิติกรรมที่กฎหมายอนุญาตให้กระทำได้โดยลำพัง

    16. เมื่อผู้เยาว์จะรับมรดกหรือพินัยกรรมหรือจำนำสิ่งของกับโรงรับจำนำจะต้องมีอายุตั้งแต่เท่าใดขึ้นไป
    ตอบ อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป

    17. นายจ้างไม่สามารถใช้งาน ลูกจ้างในลักษณะเสี่ยงภัยอันตรายของเด็กเช่นวัตถุมีพิษ สารเคมี ระเบิดหรือวัตถุไวไฟ ทำงานใต้น้ำหรือใต้ดินโดยลูกจ้างจะต้องไม่มีอายุระหว่างเท่าใด
    ตอบ ห้ามจ้างลูกจ้างอายุระหว่าง 13 – 18 ปี เข้าทำงานดังกล่าว

    18. ผู้แทนโดยชอบธรรมหมายความว่าอย่างไร
    ตอบ มี 2 นัย คือ
    1. บิดา มารดาของผู้เยาว์
    2. บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองของผู้เยาว์คือทำนิติกรรมต่างๆแทนผู้เยาว์

    19. การหมั้นคืออะไรและจะกระทำได้เมื่อใด
    ตอบ คือ การที่ฝ่ายชายส่งมอบและโอนทรัพย์สินอันเป็นของหมั้นให้กับฝ่ายหญิงเพื่อเป็น หลักฐานว่าจะสมรสกันจะกระทำได้เมื่อชายและหญิงมีอายุครบ 17 ปี โดยจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมทั้งสองฝ่าย

    20. หลังจากการหมั้นอย่างถูกต้องแล้ว ทรัพย์สินที่เป็นของหมั้นบุคคลใดมีสิทธิ์เต็มที่
    ตอบ ทรัพย์สินซึ่งเป็นของหมั้นจะตกเป็นสิทธิ์ของฝ่ายหญิงหลังจากหมั้นแล้ว

    21. จะต้องคืนของหมั้นให้กับฝ่ายชายกรณีใด
    ตอบ ฝ่ายหญิงผิดสัญญาไม่ยอมสมรสกับฝ่ายชาย หรือ กรณีเป็นความผิดของฝ่ายหญิงซึ่งฝ่ายชายมิอาจจะสมรสด้วยได้

    22. สินสอดคืออะไร
    ตอบ สินสอดคือเงินหรือทรัพย์สินที่ฝ่ายชายมอบให้กับบิดามารดา ของฝ่ายหญิงเพื่อตอบแทนการที่ฝ่ายหญิงยอมสมรสด้วยแต่ถ้าหญิงไม่ยอมสมรสด้วย ฝ่ายชายสามารถเรียกสินสอดคืนได้

    23. จำเป็นหรือไม่ว่าจะต้องมีการหมั้นก่อนการสมรสทุกครั้ง
    ตอบ ไม่จำเป็นเพราะกฎหมายได้บังคับไว้แต่ขนบธรรมเนียมประเพณีไทยมักจะนิยมทำการหมั้นก่อนการสมรส

    24. การสมรสคืออะไร
    ตอบ คือการทำสัญญาตกลงเป็นสามีภรรยากัน ระหว่างชายและหญิงด้วยความสมัครใจของทั้ง 2 ฝ่าย ต่อหน้านายทะเบียน โดยมีเงื่อนไขดังนี้
    1. จะต้องไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือศาลสั่งให้เป็นผู้ไร้ความสามารถ
    2. ไม่เป็นญาติสืบสายโลหิตใกล้ชิดกัน เช่น พ่อหรือแม่กับลูกๆ พี่น้องร่วมบิดา-มารดา กัน หรือพี่น้องร่วมมารดาเดียวกัน
    3. ผู้รับบุตรบุญธรรมกับบุตรบุญธรรม
    4. ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายมีคู่สมรสอยู่ก่อนแล้ว
    5. หญิงที่สามีตายหรือหย่าขาดจากกันโดยจะต้องทิ้งช่วงห่างไม่น้อยกว่า 310 วัน ก่อน จะมีการสมรสใหม่ได้

    25. บุคคลจะสมรสกันได้จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าเท่าใด
    ตอบ ชายและหญิงจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 17 ปี โดยความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมโดยต้องแสดงความยินยอมเป็นสามีภรรยากัน อย่างเปิดเผยต่อหน้านายทะเบียนที่ไปจดทะเบียนสมรสกัน

    26. ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยาหลังสมรสกันแล้วก่อให้เกิดความสัมพันธ์กี่ประการอะไรบ้าง
    ตอบ ความสัมพันธ์ 2 ประการ
    1. ความสัมพันธ์ทางครอบครัว(ร่วมสุข ทุกข์ อุปการะ เลี้ยงดูกัน)
    2. ความสัมพันธ์ทางทรัพย์สิน(สินส่วนตัว,สินสมรส)

    27. สินส่วนตัวมีอะไรบ้าง
    ตอบ มี 4 อย่าง คือ
    1. ทรัพย์สินที่มีอยู่ก่อนสมรส
    2. ทรัพย์สินที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัวเช่น เครื่องมือประกอบวิชาชีพ เครื่องแต่งกาย
    3. ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสด้วยการรับมรดกหรือการให้โดยเสน่หา
    4. ของหมั้นของฝ่ายหญิงเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของฝ่ายหญิง

    28. สินสมรสมีอะไรบ้าง
    ตอบ 1. ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส เช่นเงินเดือน
    2. ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาโดยการยกให้หรือพินัยกรรมซึ่งระบุให้เป็นสินสมรส
    3. ดอกผลของสินส่วนตัว ถือว่าเป็นสินสมรส

    29. สิ้นสุดการสมรสลงเมื่อใด
    ตอบ 1. ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะหรือโมฆียะ เพราะสมรสโดยผิดเงื่อนไข
    2. คู่สมรสฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งตาย
    3. การหย่าซึ่งมี 2 กรณี คือ
    - หย่าโดยความยินยอมของทั้ง 2 ฝ่าย
    - หย่าโดยคำพิพากษาของศาลโดยต้องอ้างเหตุผล

    30. มรดกหรือกองมรดกคืออะไร
    ตอบ มรดก หรือ กองมรดก คือทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตายที่มีอยู่ก่อนตายรวมทั้งสิทธิและหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ตาย

    31. ผู้มีสิทธิ์รับมรดกและส่วนแบ่งในมรดกคือใคร
    ตอบ คือทายาท ซึ่งแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
    1. ทายาทโดยธรรมหรือทายาทที่กฎหมายกำหนดเช่น คู่สมรส ญาติสนิท
    2. ทายาทตามพินัยกรรมเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกตามหนังสือพินัยกรรมที่กำหนด

    32. สิทธิของบิดามารดามีอะไรบ้าง
    ตอบ 1. มีสิทธิปกครองบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
    2. มีสิทธิกำหนดที่อยู่ของบุตร
    3. มีสิทธิทำโทษตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน
    4. มีสิทธิกำหนดให้บุตรทำงานตามสมควรแก่วัยและความสามารถ
    5. เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรซึ่งเป็นผู้เยาว์

    33. หน้าที่ของบิดามารดามีอะไรบ้าง
    ตอบ 1. อุปการะเลี้ยงดูบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
    2. ให้การศึกษาแก่บุตรตามสมควรแม้จะทุบพลภาพไม่สามารถเลี้ยงตนเองได้

    34. สิทธิของบุตรต่อบิดามารดามีอะไรบ้าง
    ตอบ 1. บุตรมีสิทธิใช้นามสกุลบิดา หากไม่ปรากฏบิดาสามารถใช้นามสกุลมารดา
    2. บุตรมีสิทธิได้รับการอุปการะเลี้ยงดูจากบิดามารดาขณะเป็นผู้เยาว์ แต่ถ้าบุตรทุพพลภาพหาเลี้ยงตนเองไม่ได้แม้จะบรรลุนิติภาวะแล้วก็มีสิทธิ์ได้ รับการอุปการะจากบิดามารดา

    35. หน้าที่ของบุตรต่อบิดามารดามีอะไรบ้าง
    ตอบ 1. อยู่ภายใต้การปกครองของบิดามารดา
    2. เลี้ยงดูบิดามารดา
    3. ห้ามฟ้องร้องบิดามารดาตนเองทั้งทางแพ่งและอาญา


    กฎหมายเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและกฎหมายอาญา
    1. ปัจจุบันประเทศไทยใช้กฎหมายฉบับใด
    ตอบ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
    2. พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 กำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมใดบ้าง
    ตอบ คุณภาพของน้ำ อากาศ ระดับเสียง มลพิษอื่นๆ เช่นขยะมูลฝอย
    3. กฎหมายอาญาคืออะไร
    ตอบ กฎหมายอาญาคือกฎหมายที่บัญญัติถึงการกระทำผิดหรือละเว้นการกระทำผิดและการ กำหนดโทษในการกระทำความผิด ซึ่งการกระทำผิดทางอาญาเป็นการกระทำที่มีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวมหรือประชาชน ส่วนมาก


    4. ความผิดอาญาแผ่นดินจำแนกได้กี่อย่างอะไรบ้าง
    ตอบ มี 2 ประเภท คือ
    1. ความผิดทางอาญาแผ่นดินคือไม่ใช่ความผิดส่วนตัวและไม่สามารถยอมความได้
    2. ความผิดอาญาที่ยอมความได้คือความผิดอาญาที่เป็นความผิดต่อส่วนตัวและสามารถยอมความกันได้
    5. ผู้กระทำความผิดทางอาญามีกี่ประเภทอะไรบ้าง
    ตอบ มี 4 ประเภท ได้แก่
    1. ผู้กระทำความผิดด้วยตนเอง
    2. ผู้ร่วมกระทำความผิด
    3. ผู้ใช้ให้กระทำความผิด
    4. ผู้สนับสนุนการทำผิด
    6. การกระทำความผิดทางอาญาแบ่งออกได้กี่ประเภทอะไรบ้าง
    ตอบ การกระทำความผิดทางอาญาแบ่งออกได้ 3 ประเภทได้แก่
    1. การกระทำโดยเจตนา
    2. การกระทำโดยไม่เจตนา
    3. การกระทำโดยประมาท
    7. ลักษณะความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาจำแนกได้กี่ลักษณะอะไรบ้าง
    ตอบ 12 ลักษณะ ได้แก่
    1. ความผิดแห่งความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
    2. ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง
    3. ความผิดเกี่ยวกับยุติธรรม
    4. ความผิดเกี่ยวกับศาสนา
    5. ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน
    6. ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน
    7. ความผิดเกี่ยวกับการปลอมแปลง
    8. ความผิดเกี่ยวกับการค้า
    9. ความผิดเกี่ยวกับเพศ
    10. ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย
    11. ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพและชื่อเสียง
    12. ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์


    8. โทษทางอาญามีกี่สถานอะไรบ้าง
    ตอบ มี 5 สถาน จากเบาสุดถึงสูงสุดมีดังนี้
    1. ริบทรัพย์สิน
    2. ปรับ
    3. กักขัง
    4. จำคุก
    5. ประหารชีวิต
    9. ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์สินมีอะไรบ้าง
    ตอบ 1. ลักทรัพย์ - การลักเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยที่เจ้าของไม่ยินยอม
    2. วิ่งราวทรัพย์ - การลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้า
    3. ชิงทรัพย์ – การลักขโมยของผู้อื่นโดยการใช้กำลังหรืออาวุธทำร้ายเจ้าของทรัพย์
    4. การปล้นทรัพย์ – การที่คนตั้งแต่ 3 คน ขึ้นไปร่วมมือกันกระทำความผิดด้วยการชิงทรัพย์ของผู้อื่น

    กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งเสพติดให้โทษ
    1. ยาเสพติดให้โทษคืออะไร
    ตอบ คือสารเคมีหรือวัตถุชนิดใดซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะรับประทานดม สูบฉีดหรือด้วยประการใดๆแล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจทำให้ต้องการ เสพรุนแรงขึ้น
    2. พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 แบ่งประเภทยาเสพติดออกได้กี่ประเภท อะไรบ้าง
    ตอบ 5 ประเภท ได้แก่
    ประเภทที่ 1 - ชนิดภัยแรง เช่น ยาบ้า เฮโรอีน
    ประเภทที่ 2 - ให้โทษทั่วไป เช่นมอร์ฟีน คาเฟอีน โคเคน ฝิ่น
    ประเภทที่ 3 - ให้โทษประเภทที่มีส่วนผสมจากประเภทที่ 2 รวมอยู่ด้วย เช่นยาแก้ไข้ผสมคาเฟอีน
    ประเภทที่ 4 - สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดประเภทที่ 1 และ 2 รวมอยู่ด้วยเช่นอาเซติคแอนไฮไดร์ด อาร์เซติลคลอไรด์
    ประเภทที่ 5 - ประเภทที่ไม่อยู่ในประเภท 1 ถึง 4 เช่น กัญชา ใบกระท่อม

    3. โทษของการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษขั้นประหารชีวิตคือการกระทำของบุคคลใด
    ตอบ เป็นผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก ผู้จำหน่าย ผู้ครอบครอง
    4. ผลจากการเสพยาเสพติดให้โทษที่แสดงอาการออกมามีอะไรบ้าง
    ตอบ เกิดภาพหลอน ควบคุมสติไม่ได้ คลุ้มคลั่ง สมองเสื่อม ประกอบอาชีพไม่ได้ ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรม

    กฎหมายเกี่ยวกับการอนุรักษ์โบรานสถานโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ

    1. กฎหมายเกี่ยวกับโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ปัจจุบันใช้กฎหมายฉบับใด
    ตอบ พ.ร.บ.โบราณสถาน โบราณวัตถุและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พ.ศ. 2535
    2. การดูแลรักษาและควบคุมโบราณสถานแบ่งได้กี่ประเภทมีอะไรบ้าง
    ตอบ 2 ประเภท คือ
    1. โบราณสถานที่มีเจ้าของหรือมีผู้ครอบครอง(เอกชน)
    2. โบราณสถานที่ไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครอง
    3. การขึ้นทะเบียนโบราณสถาน เป็นอำนาจหน้าที่ของใคร
    ตอบ อธิบดีกรมศิลปากร
    4. การดูแลรักษาและการควบคุมโบราณวัตถุและศิลปวัตถุแบ่งออกได้กี่ประเภทอะไรบ้าง
    ตอบ 2 ประเภท คือ
    1 โบราณวัตถุที่เป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน
    2 โบราณวัตถุที่เป็นของเอกชน
    5. ข้อปฏิบัติของการเข้าชมโบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนแล้วมีอะไรบ้าง
    ตอบ 1. ไม่ขีดเขียนข้อความ ภาพ รูปต่างๆลงบนโบราณสถาน
    2. ไม่เคลื่อนย้ายสิ่งต่างๆภายในโบราณสถาน
    3. ไม่กระทำการใดๆที่ก่อให้เกิดการชำรุดเสียหายแก่โบราณสถาน
    4. ไม่เทหรือทิ้งขยะมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูลลงในโบราณสถาน

    6. ข้อปฏิบัติตนของผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติมีอะไรบ้าง
    ตอบ 1. แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
    2. ไม่ขีดเขียนจารึกก่อให้เกิดความสกปรก
    3. ไม่สูบบุหรี่ในห้องที่จัดตั้งโบราณวัตถุและศิลปวัตถุ
    4. ไม่จับต้อง หยิบฉวย สิ่งของที่จัดแสดงไว้
    5. ไม่ถ่ายรูปหรือเขียนรูปสิ่งของที่จัดแสดงไว้
    6. ไม่ก่อให้เกิดความรำคาญแก่เจ้าหน้าที่หรือผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ
    7. นำหีบห่อหรือสิ่งใดๆ ที่อาจบรรลุ ปกคลุมปิดบังหรือซ่อนเร้นสิ่งของในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติออกไป เข้ามาในห้องที่จัดตั้งโบราณวัตถุและศิลปะวัตถุ
    Poring~Raider*
    Poring~Raider*
    .....
    .....


    Posts : 498
    Joined : 08/02/2009
    Location : ข้างๆมิกุจัง=[]=!!
    Karma : 2

    สรุปเนื้อหาวิชาสังคมและพระพุทธของอ.ลัดดา Empty Re: สรุปเนื้อหาวิชาสังคมและพระพุทธของอ.ลัดดา

    ตั้งหัวข้อ  Poring~Raider* Fri Jul 09, 2010 5:52 pm

    สรุปเนื้อหาวิชาพระพุทธศาสนา ส33102

    ตอนที่ 1
    การเผยแผ่และการนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศต่างๆทั่วโลก


    การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทวีปเอเชีย


    พระพุทธศาสนาในประเทศศรีลังกา

    1. นิกายพระพุทธศาสนามี 2 นิกาย มีนิกายใดบ้าง
    ตอบ 1. นิกายเถรวาท/หินยาน เป็นนิกายดั้งเดิมเชื่อแบบเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลงตรงตามพระธรรมวินัย มีศูนย์กลางการเผยแผ่อยู่บริเวณ เอเชียใต้/ทักษิณนิกาย
    2. นิกายมหายาน หรือ อาจาริยวาท มีวิวัฒนาการมาจากนิกายมหาสังฆิกวาท เกิดมา
    จากคณะสงฆ์วัชชีบุตรกรุงไพศาลี ศูนย์กลางอยู่ที่ อินเดียเหนือ/อุตรนิกาย

    2. พุทธศาสนาเผยแผ่เข้าสู่ศรีลังกา ครั้งแรกสมัยใด
    ตอบ พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ (พ.ศ. 235-275) เมืองหลวงขณะนั้นชื่อ เมืองอนุราธปุระ

    3. ผู้นำพระพุทธศาสนาไปเผยแผ่ในศรีลังกา คือใคร
    ตอบ พระมหินทเถระโอรสของพระเจ้าอโศกมหาราช พร้อมคณะภิกษุ 1 รูป เณร 1รูปและ อุบาสก 1 คน

    4. พระมเหสีของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ยอมรับในพุทธศาสนาจนกระทั่งขอออกบวชเป็นภิกษุณีพร้อมเหล่าสตรีบริวาร แต่ไม่มีพระอุปัชฌา จึงได้ทูลขอผู้ใดมาเป็นพระอุปัชฌาในการบวช ครั้งนั้น
    ตอบ พระสังฆมิตตาเถรี เป็นพระธิดาพระเจ้าอโศกมหาราชพร้อมนำเอากิ่งพระศรีมหาโพธิ์จากพุทธคยา อินเดียมาปลูกที่ศรีลังกาเป็นแห่งแรกที่ เมืองอนุราธปุระ ถือว่าเป็นต้นไม้ประวัติศาสตร์ที่มีอายุยืนยาวที่สุดในพระพุทธศาสนา

    5. มีการสร้างสิ่งก่อสร้างใดขึ้นที่บริเวณซึ่งปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์
    ตอบ มหาวิหาร และ ถูปาราม

    6. สมัยพระเจ้าทุฎฐคามณี(พ.ศ. 382-406 ) ขึ้นดำรงตำแหน่งพระองค์มีความศรัทธามากถึงกับโปรดสร้างศาสนสถาน ซึ่งเป็นโรงอุโบสถของมหาวิหารและมหาสถูปใดขึ้นมา
    ตอบ โลหะปราสาท 7 ชั้น ที่เมืองอนุราธปุระ

    7. พระเจ้าอโศกทรงประกาศศาสนาพุทธในศตวรรษที่ 3 และมีการสังคายนา ครั้งที่ 3 ที่วัดอโศการาม ณ นครปาฎลีบุตร แคว้นมคธ(ปัจจุบันเป็นเมืองหลวงของรัฐพิหารคือเมืองปัตนะในอินเดีย โดยมีบุคคลใดเป็นองค์ประธาน ในการสังคายนา
    ตอบ พระโมคคัลลีบุตรติสสะเถระเป็นประธาน

    8. เชื้อชาติประชากรส่วนใหญ่ในศรีลังกา มี 2 เผ่า คือเผ่าใดบ้าง
    ตอบ 1. สิงหล 2. ทมิฬ

    9. เกิดยุคเข็ญในช่วงที่ชาวทมิฬ ครองศรีลังกานานถึง 14 ปี ต้องกินเนื้อมนุษย์ พระพุทธศาสนาสูญสิ้น ต่อมากษัตริย์ศรีลังกาองค์หนึ่งสามารถกู้บัลลังก์คืนได้จะมีการแตกแยกนิกาย พระสงค์ออก 2 นิกาย คือนิกายใด
    ตอบ 1. ฝ่ายมหาวิหาร - ยึดคำสอนแบบจารีตประเพณี
    2. ฝ่ายอภัยคีรีวิหาร - คำสอนตามอิสระรับความเชื่อจากต่างประเทศของนิกาย
    ธรรมรุจิ

    10. สมัยกษัตริย์พระเจ้ากิตติสิริราชสีห์ได้ส่งทูตมาขอพระสงฆ์ไทยสมัยกษัตริย์ไทยองค์ใด
    ตอบ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แห่งกรุงศรีอยุธยา จากไทย

    11. ศรีลังกานิมนต์พระสงฆ์ไทยนำโดยบุคคลใดบ้าง
    ตอบ 1. พระอุบาลี 2. พระอริยมุนี และคณะสงฆ์อีก 12 รูป จนได้รับการเรียกนิกายนี้ว่านิกาย นิกายอุบาลีวงค์ หรือ สยามวงค์

    12. ศรีลังกาถูกปกครองโดยชนชาติใดบ้าง
    ตอบ โปรตุเกส ฮอลันดา อังกฤษใช้เวลานานกว่า 100 ปี

    พระพุทธศาสนาในประเทศจีน

    1. พ.ศ. 608 สมัยกษัตริย์พระองค์ใดที่มีการเริ่มเผยแผ่พระพุทธศาสนาในจีนเป็นครั้งแรก
    ตอบ จักรพรรดิมิ่งตี่ หรือ เม่งเต้ แห่งราชวงค์ฮั่น

    2. จีนส่งทูตไปอินเดียเพื่อนำคัมภีร์กลับมาโดยมีผู้นำไป 2 ท่านคือบุคคลใดบ้าง
    ตอบ 1. พระกาศยปมาตังคะ
    2. พระธรรมรักษ์

    3. สมณทูตนำพระคัมภีร์บรรทุกมาบนหลังม้าขาว ทำให้มีการสร้างวัดเพื่อเป็นอนุสรณ์เรียกว่าชื่อวัดนั้นว่าอะไร
    ตอบ วัดแปะเบ๊ยี่ หรือ วัดม้าขาว

    4. ลัทธิในจีนส่วนใหญ่แต่เดิมมี 2 ลัทธิ คือลัทธิใดบ้าง
    ตอบ ลัทธิเต๋า และลัทธิขงจื้อ

    5. บุคคลที่เป็นนักปราชญ์จีน ได้แสดงธรรมทางพระพุทธศาสนาจนทำให้ประชาชนเลื่อมใสศาสนาพุทธให้เจริญกว่า ศาสนาอื่นๆเป็นครั้งแรกในจีนคือบุคคลใด
    ตอบ โม่งจื้อ

    6. พระพุทธศาสนาในจีนเสื่อมมากที่สุดในสมัยกษัตริย์พระองค์ใดปกครองจีน เพราะเหตุใด
    ตอบ จักรพรรดิบู๊จงได้ทำลายพระพุทธศาสนา เพราะว่าพระองค์ทรงนับถือลัทธิเต๋า

    7. ลัทธิมาร์กซิสต์ได้เข้าไปมีอิทธิพลในจีนส่งผลให้ศาสนาพุทธเสื่อมลงจนต้องเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นชื่อใด
    ตอบ ประเทศสาธารณรัฐจีน

    8. พระภิกษุรูปใดที่เป็นผู้ฟื้นฟูกู้ฐานะพระพุทธศาสนาหรือปฏิรูปพุทธศาสนาใน มณฑลต่างๆ เช่น มณทลวูชัง เอ้หมึง เสฉวน หลิ่งนานฯลฯ จนได้รับยกย่องว่าทรงเป็นพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งจีน
    ตอบ พระอาจารย์ไท้สู

    9. ประเทศจีนเปลี่ยนชื่อจากสาธารณรัฐจีน เมื่อ พ.ศ. 2492 แล้วปกครองระบอบคอมมิวนิสต์เป็นชื่อใด
    ตอบ สาธารณรัฐประชาชนจีน ส่งผลทำให้ศาสนาพุทธเสื่อม พระสงฆ์สึกออกไปทำไรไถนา

    10. พรรคคอมมิวนิสต์ในจีนมีผู้นำขณะนั้นคือใคร
    ตอบ ประธานาธิบดีเหมาเจ๋อตุง แต่หลังจากที่ ประธานาธิบดีเติ้งเสี่ยวผิงปกครอง ก็ลดความ เข้มลง สงผลทำให้พระพุทธศาสนากลับมาฟื้นฟูได้อีกครั้ง

    11. หลังประธานาธิบดีเหมาเจ๋อตุงประธานพรรคคอมมิวนิสต์ที่สืบทอดอำนาจต่อคือใคร
    ตอบ เติ้งเสี่ยวผิง ลดความเข้มงวดทำให้ศาสนาพุทธฟื้นฟูมากขึ้น

    พระพุทธศาสนาในประเทศเกาหลี

    1. พ.ศ. 915 ภิกษุชาวจีนนำพระพุทธศาสนา มาเผยแผ่ในเกาหลีคือบุคคลใด
    ตอบ พระสมณทูตที่ชื่อ ซุนเตา

    2. เดิมอาณาจักรต่างๆในเกาหลี ก่อนจะมาเป็นเกาหลีในปัจจุบันมี 3 อาณาจักร มีอาณาจักรประกอบไปด้วยอาณาจักรใดบ้าง
    ตอบ อาณาจักรโกคุริโอ ปีกเซและซิลลา

    3. กษัตริย์ราชวงค์โซซอน ในเกาหลีครองราชย์ส่งผลทำให้พุทธศาสนาเสื่อมเพราะสาเหตุใด
    ตอบ เพราะหันไปนับถือ ลัทธิขงจือ ให้ เป็นศาสนาประจำชาติ พระสงฆ์จึงถูกกดขี่

    4. ชาติใดที่เข้ามาปกครองเกาหลีแล้วออกข้อบังคับเพื่อควบคุมวัดวาอารามจนทำให้พระพุทธศาสนา เสื่อมลง
    ตอบ ญี่ปุ่น

    5. ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เกาหลีถูกยึดครองโดย 2 ชาติใหญ่คือชาติใดบ้าง
    ตอบ สหภาพโซเวียด ยึดครองเกาหลีเหนือ (สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี)
    สหรัฐอเมริกา ยึดครองเกาหลีใต้ (สาธารณรัฐเกาหลี )

    6. มหาวิทยาลัยใดของเกาหลีใต้ที่มีการส่งเสริมพระพุทธศาสนาอย่างแพร่หลายมีพระ เณรและ นักบวช เข้ารับการศึกษามากมาย
    ตอบ มหาวิทยาลัยดงกุก มีศูนย์แปล หรือ พิมพ์พระไตรปิฎก

    7. พระพุทธศาสนาในเกาหลีปัจจุบันนี้มีการนับถือนิกายใดกันบ้าง
    ตอบ นิกายเซน และ ศาสนาพุทธซึ่งเชื่อใน พระอมิตาภพุทธะ หรือ พระศรีอาริยเมตไตรย และ พระเมตตรัยโพธิสัตย์


    พระพุทธศาสนาในประเทศญี่ปุน

    1. เกาหลีมีอิทธิพลในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นโดย “หนังสือ” ชื่อว่าอะไรและตรงกับพระมหากษัตริย์พระองค์ใด
    ตอบ หนังสือนิฮอนโกชิตรงกับสมัยจักรพรรดิ กิมเมจิ(องค์ที่ 29 ของญี่ปุ่น)และตรงกับกษัตริย์เกาหลีที่มีชื่อว่า “พระเจ้าเซมาโว”

    2. พระเจ้าเซมาโวแห่งเกาหลีได้ส่งทูตนำสิ่งใดไปด้วยเพื่อเข้าไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในญี่ปุ่นสมัยจักรพรรดิกิมเมจิ
    ตอบ พระพุทธรูป, ธง, คัมภีร์,พระพุทธและ พระราชสาส์นส่งผลให้พระพุทธศาสนามีความ
    เจริญรุ่งเรืองอย่างมากมาย จนสิ้นพระชนน์ของพระองค์

    3. พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมากที่สุดในญี่ปุ่นตรงกับสมัยกษัตริย์พระองค์ใด
    ตอบ เจ้าชายโชโตกุ ซึ่งเป็นโอรสของจักรพรรดินี ซุยโก

    4. เจ้าชายโชโตกุมีการประกาศพระราชโองการเชิดชูพระรัตนตรัย ทำให้ประชาชนยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาจำนวนมากมาย ยุคของพระองค์ได้พระพุทธศาสนาเจริญมากจนรับสมญานามเรียกว่ายุคใด
    ตอบ ยุคสัทธรรมไพโรจน์ หรือ ยุคโฮโก และประกาศธรรมนูญ 17 มาตรา

    5. เมื่อเจ้าชายโชโตกุ สิ้นพระชนม์ มีการสร้างพระพุทธรูปเท่าองค์จริงเพื่อเป็นอนุสรณ์ไว้ที่วัดใด
    ตอบ วัดโฮริวจิ หลังจากนั้นพระพุทธศาสนาก็หยุดความเจริญก้าวหน้าและเสื่อมลง

    6. ลัทธิใดเป็นที่ยอมรับและได้รับการเชิดชูมากในญี่ปุ่น จนทำให้ศาสนาพุทธถูกยกเลิกในพระราชสำนักของพระมหาจักรพรรดิไปในที่สุด
    ตอบ ลัทธิชินโต

    7. ต่อจากนั้นศาสนาใดกได้เริ่มเผยแผ่เข้าสู่ญี่ปุ่นเนื่องจากรับวัฒนธรรมจากชาติตะวันตก
    ตอบ ศาสนาคริสต์

    8. ปัจจุบันศาสนาพุทธในญี่ปุ่นที่มีการนับถืออยู่แบ่งเป็นนิกายได้ 5 นิกาย คือนิกายใดบ้าง
    ตอบ 1. นิกายเทนได/เทียนไท้ - บูชาพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันหรือพระโพธิสัตว์
    2. นิกายชินงอน - สอนให้บรรลุโพธิญาณโดยการสวดออนวอน
    3. นิกายโจโดหรือสุขาวดี- เข้าสู่ดินแดนอมตสุขด้วยการออกนามพระอามิตาภพุทธะ
    4. นิกายเซนหรือฌาน - นับถือพระโพธิธรรมเชื่อว่าทุกคนมีธาตุพุทธอยู่ในตัว
    5. นิกายนิจิเรน - นอบน้อมแด่สัทธรรมปุณฑริกสูตรหลังจากบรรลุโพธิได้

    9. กิจกรรมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในญี่ปุ่นที่โดดเด่นมีอะไรบ้าง
    ตอบ มีการจัดการศึกษาโดยการจัดตั้งมหาวิทยาลัย วิทยาลัย โรงเรียน

    10. พระสงฆ์ในญี่ปุ่นมีลักษณะการดำรงชีวิตเป็นแบบใด ในปัจจุบัน
    ตอบ มีครอบครัวได้ ยกเว้นเจ้าอาวาสไม่สามารถมีครอบครัวได้

    พระพุทธศาสนาในประเทศทิเบต

    1. ชาวทิเบตในระยะแรกๆ มีการนับถือลัทธิใด
    ตอบ ลัทธิบอนโป คือนับถือ ผีสางเทวดา

    2. กษัตริย์พระองค์ใดของทิเบตที่เริ่มยอมรับนับถือศาสนาพุทธ เพราะสาเหตุใด
    ตอบ พระเจ้าสรองสันคัมโป เพราะว่าทรงอภิเษกกับเจ้าหญิงแห่งเนปาล และ จีนซึ่งนับถือศาสนาพุทธแต่ระยะแรกถูกต่อต้านจากประชาชนที่นับถือลัทธิบอนโป ภายหลังค่อยยอมรับ

    3. กษัตริย์องค์ที่ 5 ของทิเบตทรงอาราธนาพระภิกษุจากอินเดียซึ่งนำเอาพุทธศาสนาแบบตันตระเข้ามาเผยแผ่ในทิเบต คือพระภิกษุรูปใด
    ตอบ พระปัทมสัมภวะ เพราะได้รับการแนะนำโดยพระศานตรักษิต จากมหาวิทยาลัยนาลันทาในอินเดียในระยะแรกประชาชนยังไม่ยอมรับนัก

    4. กษัตริทุกพระองค์ในทิเบตนับถือศาสนาพุทธซึ่งมีพระภิกษุจากอินเดียของมหาวิทยาลัยใด
    ตอบ มหาวิทยาลัยวิกรมศิลาแคว้นพิหารในอินเดียได้เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนา

    5. ส่งผลหรืออิทธิพลต่อประเทศทิเบตอย่างไรบ้าง
    ตอบ ทำให้ศาสนาพุทธกลายเป็นศาสนาประจำชาติจวบจนถึงปัจจุบัน

    6. นิกายศาสนาพุทธในทิเบตมี 2 นิกายคือ นิกายใดบ้าง
    ตอบ 1. นิกายหมวกแดง - นับถือพระปัทมะสัมภาวะแบบหินยานหรือมหายานพระต้องถือพรหมจรรย์ไม่นับถือไสยศาสตร์
    2. นิกายหมวกเหลือง - นิกายเกลุกปะ จัดตั้งโดยพระตสองขะปะ นับถือพระสงค์และผู้ปกครองว่าเป็นผู้นำทางจิตใจ(จิตวิญญาณ)

    7. พระเจ้าอันตันข่านทรงนับถือประมุของค์ที่ 3 ของนิกายหมวกเหลืองคือพระสอดนัมยาโสเรียกชื่อพระสอดนัมยาโสว่าอะไร
    ตอบ ทะเล Dalai หรือ องค์ดไลลามะ ต่อมาได้นำเอาชื่อนี้ใช้เป็นชื่อเรียกประมุขของสงฆ์และประมุขของประเทศ มาจนถึงปัจจุบัน

    8. ปัจจุบันประมุขของสงฆ์ในประเทศทิเบตเป็นองค์ที่เท่าไร
    ตอบ องค์ที่ 14 ได้ถูกกดดันในการเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณและประมุขของประเทศจากจีนจนส่งผลทำ ให้องค์ดไลลามะหลบลี้หนีภัยไปอยู่ยังประเทศ อินเดีย โดยออกจากทิเบต ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2502จวบจนปัจจุบัน

    การแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศเนปาล

    1. ประเทศที่นำเอาพระพุทธศาสนาเข้าไปเผยแผ่ในเนปาลคือประเทศใด
    ตอบ อินเดีย

    2. อินเดียในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชได้พระราชทานสิ่งใดแก่ขุนนางผู้ใหญ่ชาวเนปาล
    ตอบ เจ้าหญิงจารุมตี ส่งผลทำให้มีการสร้างวัดเจดีย์หลายแห่งใน นครกาฐมัณฑุ ของเนปาล

    3. มุสลิมรุกรานอินเดียส่งผลให้พระภิกษุอินเดียหนีไปอยู่ในเนปาลพร้อมกับนำสิ่งใดไปด้วย
    ตอบ คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา

    4. คำสอนทางพระพุทธศาสนาในเนปาลมีอะไรบ้าง
    ตอบ - ชีวิตของสงฆ์ในวัด – การต่อต้านการถือวรรณะ- การไม่เชื่อเกี่ยวกับไสยศาสตร์

    5. พระพุทธศาสนาในประเทศเนปาลในระยะแรกๆจะนับถือนิกายใด
    ตอบ นิกายเถรวาท เป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา

    6. หลังจากที่เนปาลเสื่อมสูญศรัทธาในนิกายเถรวาทแล้วจึงหันมานับถือนิกายใดในเวลาต่อมา
    ตอบ นิกายตันตระเน้นเรื่องการใช้คาถาอาคมและพิธีกรรม

    7. มีพุทธปรัชญาเกิดขึ้น 4 นิกาย ในเนปาลมีนิกายใดบ้าง
    ตอบ 1. สวาภาริภะ 2. ไอศวริกะ 3. การมิกะ 4. ยาตริกะ

    8. นิกายใดในเนปาลที่ได้รับการฟื้นฟูให้มีการศึกษาขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
    ตอบ นิกายเถรวาท โดยส่งพระสงฆ์ไปศึกษาในไทย พม่า และศรีลังกา

    9. มหาวิทยาลัยสงฆ์ของไทย 2 แห่ง ที่มีการศึกษาปริยัติธรรมแก่สงฆ์ในปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยใดบ้าง
    ตอบ 1. มหามกุฎราชวิทยาลัย
    2. มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย

    10. สมาคมพุทธศาสนาที่มีชื่อเสียงในเนปาลมีชื่อว่าสมาคมใด
    ตอบ สมาคมธรรโมทัยสภา


    ตอนที่ 2
    การเผยแผ่พระพุทธศานาในทวีปยุโรป


    การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศอังกฤษ

    1. ผู้มีบทบาทในการนำพระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแผ่ในประเทศอังกฤษครั้งแรกคือ บุคคลใด
    ตอบ นายสเปนเซอร์ อาร์คี โดยการพิมพ์หนังสือออกเผยแพร่

    2. หนังสือของนายสเปนเซอร์อาร์คีที่แต่งขึ้นมีชื่อว่าอะไร
    ตอบ หนังสือ ศาสนาจักรแห่งบูรพทิศ แต่ระยะแรกไม่มีคนสนใจนัก

    3. บุคคลที่เขียนหนังสือเกี่ยวกับพุทธศาสนาแล้วนำพุทธประวัติและหลักคำสอนไปเผยแพร่ในประเทศอังกฤษคือใด
    ตอบ เซอร์เอ็ดวิน อาร์โนลด์

    4. หนังสือของเซอร์เอ็ดวิน อาร์โนลด์ที่นำออกเผยแพร่มีชื่อว่าอะไร
    ตอบ หนังสือ“ประทีปแห่งเอเชีย” (The light of Asia) ทำให้ชาวอังกฤษสนใจกันอย่างมากมาย ปี พ.ศ. 2422 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 ของไทย

    5. สมาคมพุทธศาสนาที่ก่อตั้งในอังกฤษชื่อว่าอะไรใครเป็นคนก่อตั้ง
    ตอบ “สมาคมบาลีปกรณ์” ตั้งที่กรุงลอนดอน โดย ศาสตราจารย์ ดร.ที. ดับบลิว.ริสเดวิดส์

    6. สมาคมบาลีปกรณ์เน้นกิจกรรมการเผยแผ่พุทธศาสนาในเรื่องอะไร
    ตอบ แปลพระไตรปิฎกภาคภาษาอังกฤษ เผยแพร่นาน 25 ปี

    7. พระภิกษุชาวอังกฤษที่ไปบวชในประเทศพม่า คือบุคคลใดและมีบทบาทสำคัญอย่างไรในอังกฤษ
    ตอบ พระอานันทะเมตเตยยะ ซึ่งมีบทบาทในการก่อตั้งองค์กร พุทธสมาคมแห่งเกรตบริเตนและไอร์แลนด์ พิมพ์หนังสือพุทธปริทัศน์

    8. ชาวพุทธในประเทศอังกฤษที่ก่อตั้งพุทธสมาคมแห่งประเทศอังกฤษได้จัดพิมพ์นิตยสารเผยแผ่พุทธศาสนามีชื่อว่าหนังสือใด
    ตอบ นิตยสาร “ทางสายกลาง” (Middle Way)

    9. วัดไทยในอังกฤษเป็นและนับว่าเป็นวัดแรกในทวีปยุโรปที่ได้มีการสร้างขึ้นคือวัดใด
    ตอบ วัดไทยพุทธวิหาร แต่ต่อมาในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเปลี่ยนชื่อเป็นวัดพุทธประทีป

    10. องค์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในอังกฤษมีจุดประสงค์เพื่อช่วยเหลือนักโทษในเรือนจำที่นับถือศาสนาพุทธ คือองค์กการใด
    ตอบ “องค์การองคุลิมาล” ซึ่งก่อตั้งโดยพระเขมธม.โม ภายหลังจัดตั้งเป็นสวนป่าพุทธองค์ ณ เรือนจำสปิงฮิลล์ ในประเทศอังกฤษ

    พระพุทธศาสนาในประเทศเยอรมัน

    1. ชาวพุทธกลุ่มแรกในเยอรมันนำโดยบุคคลใด
    ตอบ ดร.คาร์ลไซเดน สตือเกอร์ เป็นผู้เริ่มก่อตั้งพุทธสมาคมที่เมืองเลปซิก ในเยอรมัน

    2. หนังสือเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในเยอรมันชื่อว่าหนังสือเล่มใด
    ตอบ หนังสือพระพุทธวจนะ(เรียบเรียงโดยอันตอน วอลเตอร์ฟลอรัสกือเอธหรือ ท่านญาณดิลก)ชาวเยอรมันแปลจากภาษาบาลีให้เป็นภาษาเยอรมันต่อมาแปลเป็นภาษา อื่นๆอีก 10 ภาษา

    3. ผู้นำเยอรมันบุคคลใด สั่งห้ามพุทธสมาคม มิให้ดำเนินการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
    ตอบ อดอร์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำเผด็จการในเยอรมัน

    4. หลังเยอรมันแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ เยอรมันตะวันตกและเยอรมันตะวันออกแล้ว มหาวิทยาลัยใดหรือองค์กรใดในพุทธศาสนาที่มีการเผยแพร่คำสอนในเยอรมันในเวลา ต่อมา
    ตอบ มหาวิทยาลัยเฮล

    5. หลังเยอรมันรวมเป็นประเทศเดียวกันแล้วมีการจัดตั้งเป็นศูนย์รวมของพระพุทธศาสนา ณ เมืองใด
    ตอบ เมืองฮัมบูร์ค เรียกว่า “สันติอาศรม”

    6. ปัจจุบันชาวพุทธในเยอรมันจะนับถือนิกายใด
    ตอบ นิกายเถรวาทมากที่สุด รองลงมาเป็นนิกายมหายานแบบทิเบตหรือแบบญี่ปุ่น(นิกายโยโดชินชู,นิกายเซน)

    7. ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง โดยเยอรมันเป็นฝ่ายพ่ายแพ้พระภิกษุรูปหนึ่งได้นำพระพุทธศาสนาเข้าไปเผยแผ่ แก่ชาวเยอรมันและได้รับความสนใจมากภิกษุรูปนั้นชื่อว่าอะไรและเป็นชนเชื้อ ชาติใด
    ตอบ พระถูนันทะ เป็น ชาวพม่า

    8. ชาวพุทธในเยอรมันได้ยอมรับและประสานงานกับสมาคมชาวพุทธเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาจากประเทศใด
    ตอบ ประเทศศรีลังกาและมีชื่อว่า “สมาคมมหาโพธิ์”(ชาวเมืองมิวนิกร่วมเป็นสาขาของสมาคมด้วย)


    การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศเนเธอร์แลนด์

    1. กลุ่มอาชีพใดที่นำพุทธศาสนาไปเผยแผ่ยังดินแดนประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นครั้งแรก

    ตอบ พ่อค้าชาวดัตซ์และคนพื้นเมืองชาวศรีลังกาที่เข้าไปศึกษา

    2. เมืองหลวงของเนเธอร์แลนด์ปัจจุบันชื่อว่าอะไร
    ตอบ กรุงเฮก

    3. ชาวพุทธในเนเธอร์แลนด์ได้ร่วมกันจัดตั้งกลุ่มผู้นับถือพุทธศาสนาขึ้นมาในกรุงเฮกมีกลุ่มใดบ้าง
    ตอบ - ชมรมชาวพุทธดัตซ์
    - กลุ่มชาวพุทธศาสตร์ศึกษา

    ตอนที่ 3 พระพุทธศาสนาในทวีปอเมริกาเหนือ

    พระพุทธศาสนาในประเทศสหรัฐอเมริกา

    1. หนังสือเล่มใดที่ทำให้ชาวอเมริกันให้ความสนใจในพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก
    ตอบ หนังสือ “ประทีปแห่งเอเชีย” โดยเซอร์เอ็ดวิน อาร์โนลด์มีการตีพิมพ์มากกว่า 80 ครั้งซึ่ง มหาวิทยาลัยฮาร์วาดจัดพิมพ์ในระยะแรกๆ

    2. บุคคลผู้มีบทบาทสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสหรัฐอเมริกาคือใคร
    ตอบ พ.อ.เฮนรี่ สตีล ออลคอตต์

    3. พ.อ.เฮนรี่ สตีลออลคอตต์ เขาได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับพุทธศาสนาชื่อว่าอะไร
    ตอบ ปุจฉาวิปัชนาทางพระพุทธศาสนาและ ตั้งสมาคมพุทธนิยม ขึ้นด้วย

    4. เมืองซานฟรานซิลโก มณรัฐแคลิฟอร์เนีย ได้จัดสร้างวัดทางพระพุทธศาสนาขึ้นและเป็นที่ทำการใหญ่ ของพุทธศาสนาแบบมหายานของนิกายใด
    ตอบ นิกายชิน หรือ สุขาวดีจากญี่ปุ่น

    5. บุคคลใดเป็นผู้นำในการไปเผยแผ่นิกายชินหรือสุขาวดีจากญี่ปุ่น
    ตอบ ท่านโซกัว โซนาดะ

    6. พุทธศาสนาเข้าไปเจริญในสหรัฐอเมริกาเมืองใดบ้าง
    ตอบ 1. ซานฟรานซิลโก 2. ลอสแอนเจลิส 3. ซีแอตเติล

    7. การรวมกลุ่มชาวพุทธมีการจัดตั้งพุทธสมาคมไทย-อเมริกัน ขึ้น ณ นครลอสแอนเจอลิส ในมณรัฐแคลิฟอร์เนีย เรียกกลุ่มดังกล่าวว่าอะไร
    ตอบ “พุทธสมาคมไทย-อเมริกา” เน้น นิกายเถรวาทแบบไทย

    8. มีการจัดสร้างวัดไทยในอเมริกาขึ้นเป็นครั้งแรกมีชื่อว่าวัดใด
    ตอบ วัดไทยลอสแอนเจอลิส

    9. มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน สาขาพระพุทธศาสนาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีจนถึงระดับปริญญาเอกคือมหาวิทยาลัยใด
    ตอบ มหาวิทยาลัยพุทธธรรม รัฐแคลิฟอร์เนีย

    พระพุทธศาสนาในประเทศแคนนาดา

    1. กลุ่มชนใดที่มีบทบาทในการนำเอาพระพุทธศาสนาเข้าไปเผยแผ่ในประเทศแคนนาดา
    ตอบ ชาวเอเชีย( เกาหลี เวียดนาม เขมร ลาว )

    2. องค์กรพุทธศาสนาที่สำคัญในแคนนาดามีชื่อว่าองค์กรใด
    ตอบ “พุทธสมาคมแห่งออตตาวา” กลุ่มชาวพุทธแห่งโตรอนโต,คณะธรรมทูตแห่งอเมริกาเหนือ

    3. ส่วนใหญ่ชนในแคนนาดาที่นับถือศาสนาพุทธเป็นชนกลุ่มใด
    ตอบ ชนชาวเอเชีย

    4. นิกายใดของศาสนาพุทธที่เข้าไปเผยแผ่ในประเทศแคนาดา
    ตอบ นิกายสุขาวดี และนิกายเซนแบบญี่ปุ่น


    พระพุทธศาสนาในประเทศออสเตรเลีย

    1. บุคคลใดมีบทบาทสำคัญในการนำพุทธศาสนาเข้าไปเผยแผ่ในประเทศออสเตรเลีย
    ตอบ ภิกษุชาวอังกฤษบวชในพม่าชื่อ “สาสนธชะ(Mr.E.Stevenson)สอนว่าพุทธศาสนาเน้นในเรื่องการพัฒนาจิตใจ

    2. พุทธสมาคมใดก่อตั้งเป็นครั้งแรกในออสเตรเลียโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
    ตอบ “เผยแผ่หลักธรรมและปฏิบัติธรรมเรียกว่า “พุทธสมาคมแห่งควีนส์แลนด์”

    3. พระภิกษุรูปใดในพม่าที่เดินทางไปออสเตรเลียเพื่อเผยแผ่ธรรมะพยายามสร้างวัดแต่ไม่สำเร็จ
    ตอบ พระอูฐิติละ เพราะกลับพม่าไปก่อน

    4. วัดไทยในออสเตรเลีย สร้างขึ้นโดยคณะกรรมการมหามกุฎราชวิทยาลัย ณ นครซีดนีย์มีชื่อว่าอะไร
    ตอบ วัดพุทธรังษี (ชาวลาว เขมร จีน ไทย ออสเตรเลีย ไปบำเพ็ญกุศล)

    ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในการสร้างสรรค์อารยธรรมโลก

    1. อารยธรรมหมายถึงอะไร
    ตอบ ลักษณะทางสังคมหรือความเจริญทางปัญญาของมนุษย์

    2. ข้อบังคับในการอยู่ร่วมกันของมนุษย์เรียกว่าอะไร
    ตอบ กฎหมาย

    3. อารยวัฒิหมายความว่าอะไร
    ตอบ ธรรมที่เป็นปัจจัยทำให้เกิด อารยธรรม มี 4 อย่าง

    4. มีอะไรบ้าง
    ตอบ 1. ศรัทธา - ความเชื่อมั่น 2. ศิล - ความประพฤติดี
    3. จาคะ - ความเสียสละ 4. สุตะ - การได้รับการศึกษา * บางตำราเพิ่มเติมว่ามี 5 อย่างโดยเพิ่ม ปัญญา – ความรอบรู้ เข้าไปด้วย

    5. ธรรมสำหรับผู้นำหรือผู้ปกครองเรียกว่าอะไร
    ตอบ ทศพิธราชธรรม

    พุทธประวัติและชาดก


    1. พระบิดา-มารดาของพระพุทธเจ้าหรือเจ้าชายสิทธัตถะมีพระนามว่าอะไร
    ตอบ พระเจ้าสุทโธทนะ – พระนางสิริมหามายา

    2. เจ้าชายสิทธัตถะประสูติที่ไหน
    ตอบ สวนลุมพินี ระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์กับเมืองเทวทหะ

    3. สิทธัตถะมีความหมายว่าอะไร
    ตอบ ต้องการสิ่งใด ย่อมได้สิ่งนั้น

    4. สำนักครูใดที่สอนเจ้าชายสิทธัตถะ
    ตอบ สำนักวิศวามิตร อาฬาดาบส ,อุทกดาบส

    5. เจ้าชายสิทธัตถะทรงอภิเษกกับใคร
    ตอบ พระนางพิมพาหรือยโสธรา

    6. เทวทูตทั้ง 4 ที่เจ้าชายสิทธัตถะพบก่อนออกบวช มีใครบ้าง
    ตอบ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะ

    7. เจ้าชายสิทธัตถะออกผนวชที่ไหน
    ตอบ ณ ริมฝั่งแม่น้ำอโนมา

    8. เจ้าชายสิทธัตถะมีบุตรชื่อว่าอะไร
    ตอบ ราหุล แปลว่า บ่วง ,ห่วง

    9. เจ้าชายสิทธัตถะก่อนจะตรัสรู้บุคคลใดนำอาหารมาถวายยามรุ่งเช้าใต้ต้นไทร(นิโครธ)
    ตอบ นางสุชาดา บริเวณ ชายฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา

    10. ใครนำหญ้าคามาถวายให้ปูนั่งใต้ต้นโพธิ์ก่อนจะตรัสรู้
    ตอบ โสตถิยพราหมณ์ และในคืนนั้นพระองค์ก็ได้ตั้งพระทัยแน่วแน่ว่า ถ้ายังค้นหาหนทางแห่งการพ้นทุกข์ไม่สำเร็จจะไม่ยอมเสด็จลุกไปไหน แม้เนื้อและเลือดจะเหือดแห้งก็ตาม

    11. เจ้าชายสิทธัตถะสำเร็จญาณ 3 มีญาณใดบ้าง
    ตอบ - หยั่งรู้อดีต - หยั่งรู้ความเกิดดับของสัตว์โลก - หยั่งรู้ความดับกิเลสสิ้นแล้ว

    12. การรู้แจ้ง 4 (อริยสัจ 4) ได้แก่สิ่งใดบ้าง
    ตอบ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

    13. เสวยวิมุติสุขหมายความว่า เปลี่ยนสถานที่พักผ่อนและบริเวณใกล้เคียงของพระพุทธเจ้าหลังจากที่พระองค์ ทรงตรัสรู้แล้วรวมเรียกสถานที่ดังกล่าวว่าอะไร
    ตอบ “ สัตตมหาสถาน ”

    14. แสดงธรรม ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แก่ เบญจวัคคี ครั้งแรกตรงกับวันสำคัญวันใด ตอบ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เรียกว่า “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร” เป็นวันที่พระพุทธเจ้าแสดงและตำหนิทางสุดโต่ง 2 สาย คือ
    1. กามสุขัลลิกานุโยค - คือการปล่อยตนหมกมุ่นใน กามสุขก่อให้เกิดกิเลสไม่เกิดประโยชน์ใดๆให้ละเสีย
    2. อัตตกิลมถานุโยค - ทรมานตนให้ได้รับความลำบากแบบที่พระองค์เคยปฏิบัติมาก่อน 6 ปี ไม่มีประโยชน์ไม่ใช่หนทางของพระอริยะเจ้า แต่ควรเดินทางสายกลางเรียกว่า “มัชฌิมาปฏิปทา 8 ข้อ (มรรค Cool คือ ความเห็น ดำริชอบ การเจรจาชอบ การทำงานชอบ การเลี้ยงชีพชอบ ความเพียรชอบ การระลึกได้ชอบ การตั้งใจมั่นชอบ

    15. ผู้ฟังธรรมแล้วเกิดดวงตาเห็นธรรมเป็นครั้งแรกโดยพระพุทธเจ้าเอ่ยคำว่าอะไร
    ตอบ อัญญาสิ วะตะโภโกณฑัญโญ (โกญทัญญะแล้วหนอ)

    16. พระพุทธเจ้าแสดงธรรมใดโปรด เบญจวัคคีย์วัคคีย์ อีก 4 รูปที่ยังไม่บรรลุเรียกหลักธรรมดังกล่าวว่าอะไร
    ตอบ “อนัตตลักขณสูตร” ซึ่งเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับ เรื่องดังต่อไปนี้
    ขันข์ 5 เป็นปัจจัยปรุงแต่ง
    1. รูป - สัมผัสได้ 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น ผิว
    2. เวทนา - ความรู้สึก สุข ทุกข์ อย่างนั้น อย่างนี้
    3. สัญญา - ความจำได้หมายรู้ว่าสิ่งทั้งปวงเกิดขึ้น
    4. สังขาร - อารมณ์ปรุงแต่งจิตให้คิดดี หรือ คิดชั่ว
    5. วิญญาณ - ความรับรู้อารมณ์ที่ประสาทส่งเข้ามา
    เป็นสิ่งไม่เทียง เป็นทุกข์ไม่ใช่ตัวตนโปรดอย่ายึดมั่นถือมั่นเพราะจะเป็นทุกข์หากไม่เป็นไปตามปรารถนา

    17. วันประกาศศาสนาเพราะเกิดสาวกขึ้นมีพระรัตนตรัยครบองค์ 3 ณ บริเวณ สถานที่ใด
    ตอบ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน

    18.วัดทางพระพุทธศาสนาแห่งแรกของโลก คือบริเวณใด
    ตอบ “อุทยานสวนป่าไผ่หรือวัดเวฬุวัน ของพระเจ้าพิมพิสารสร้างถวาย

    19.มีการรวมสาวกทั้งหมด 1,250 รูป ที่ พระเวฬุวัน โดยแสดงหลักธรรมใด
    ตอบ หลักธรรมม “โอวาทปาติโมกข์” หรือ วันจาตุรงคสันนิบาต วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 หรือ วันมาฆบูชาโดยเกิดเหตุการณ์ณ์สำคัญ 4 อย่าง ได้แก่
    1. เป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 2. มีสาวกจำนวน 1,250 รูปมาประชุมโดยไม่ได้นัดหมาย
    3. สาวกทั้ง 1,250 รูปล้วนเป็นพระอรหันต์ 4. สาวกที่มาประชุมล้วนเป็นเอหิภิกขุ(พระพุทธเจ้าเป็นผู้บวชให้

    20.บุคคลสำคัญ 4 กลุ่ม ที่มีส่วนดำรงพระพุทธศาสนาได้แก่ใครบ้าง
    ตอบ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา (พุทธบริษัท 4 )

    21.พระพุทธเจ้าเสด็จสู่ปรินิพพานที่ใต้ต้นสาระเมืองกุสินารา แคว้นมัลละทรงมีพระชนม์กี่พรรษา
    ตอบ พระชนม์ได้ 80 พรรษา

    การศึกษาพุทธประวัติจากพระพุทธรูปปางต่างๆ


    1. ตามประวัติการสร้างพระพุทธรูปนั้น พวกแรกที่คิดสร้างขึ้นเนื่องจากความเลื่อมใสศรัทธาพระพุทธศาสนาคือชนพวกใด
    ตอบ พวกโยนก หรือชนชาติกรีก โดยคิดสร้างอิริยาบถไว้ 9 ปาง

    2. สมัยรัชกาลใดแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ที่ทรงโปรดการสร้างวัด สร้างพระพุทธรูปมากที่สุด
    ตอบ รัชกาลที่ 3(พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) สร้างพระพุทธรูปไว้ถึง 40 ปาง

    3. พระพุทธรูปประจำวันเกิด มีปางใดบ้าง
    ตอบ วันอาทิตย์ - ปางถวายเนตร
    วันจันทร์ - ปางห้ามญาติ
    วันอังคาร - ปางไสยาสน์
    วันพุทธ - ปางอุ้มบาตร
    วันพฤหัส - ปางตรัสรู้
    วันศุกร์ - ปางรำพึง
    วันเสาร์ - ปางนาคปรก


    __________________________________________________________________________________________



    ชาดกไม่ออกนะ (แต่ทำไมมีได้ล่ะเนี่ย...?)

    ชาดก 2 เรื่อง
    นันทิวิสาลชาดกกับสุวัณณหังสชาดก


    1. ชาดกเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร
    ตอบ เรื่องราวที่เล่าถึงอดีตชาติของพระพุทธเจ้าชาติต่างๆ

    2. นันทิวิสาลชาดก พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ในพระไตรปิฎกเล่มใด
    ตอบ พระไตรปิฎก เล่มที่ 27 (พระสุตตันตปิฎกขุททกนิกาย

    3. พระภิกษุรูปใดที่พระพุทธเจ้าตรงกล่าวถึงว่าเป็นผู้ที่ชอบพูดจาเสียดให้ผู้อื่นเจ็บใจ
    ตอบ พระภิกษุฉัพพัคคีย์

    4. ในอดีตชาติของพระภิกษุฉัพพัคคีย์ เคยเกิดเป็นใครในเรื่องนันทิวิสาลชาดก
    ตอบ พราหมณ์ผู้เป็นคนเลี้ยง โคนันทิวิสาล(อดีตชาติของพระพุทธเจ้า)

    5. พราหมณ์เจ้าของโคนันทิวิสาลแสดงสิ่งใด ทำให้โคนันทิวิสาลพ่ายแพ้การแข่งขันลากเกวียนแก่โควินทเศรษฐี
    ตอบ กล่าวคำหยาบคาย ด่าทอ ทิ่มแทงจิตใจ ทำให้โคนันทิวสาลหมดกำลังใจ เสียใจ สะเทือนใจ จนไม่สามารถลากเกวียนให้ชนะได้

    6. ชาดกโคนันทิวิสาลมีคติสอนใจในเรื่องใด
    ตอบ การพูดคำหยาบ นำความเดือดร้อนมาให้
    การพูดคำไพเราะนำความสำเร็จมาให้
    ดังสุภาษิตไทย เช่น ปากเป็นเอก เลขเป็นโท , อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย เป็นต้น

    7. ภิกษุณีรูปใดที่พระพุทธเจ้าทรงกล่าวถึงว่าเป็นผู้ที่มักโลภมากในการบริโภคกระเทียมจนทำให้ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน
    ตอบ พระภิกษุณีถูลนันทา

    8. ในอดีตชาติของภิกษุณีถูลนันทาเกิดเป็นบุคคลใด
    ตอบ นางพราหมณีโดยได้แต่งงานกับพระโพธิสัตว์ซึ่งเกิดเป็นพราหมณ์ มีลูกสาว 3 คน คือนันทา นันทวดี และสุนันทา

    9. เมื่อพราหมณ์(อดีตชาติของพระพุทธเจ้า)ผู้เป็นสามีเสียชีวิตไปแล้วไปเกิดเป็นอะไรแล้วมีญาณวิเศษสามารถระลึกชาติได้
    ตอบ หงส์ทองคำ

    10. เมื่อหงส์ทองคำระลึกชาติได้จึงบินกลับมาหา ครอบครัวแล้วได้ช่วยเหลือนางพราหมณีและลูกสาวอย่างไร
    ตอบ สลัดขนทองคำให้ครั้งละ 1 ขน เพื่อแลกกับเงินมาเลี้ยงชีพและเพียงพอแก่ฐานะ

    11. นางพราหมณี กระทำสิ่งใดต่อหงส์ทองคำ ซึ่งเดิมเคยเป็นสามีนางแล้วมาเกิดเป็นหงส์ผู้อารี
    ตอบ จับหงส์ทองคำมาถอนขน เพื่อนำขนมาแลกเงินจำนวนมากๆแต่ขนที่หงส์มิได้ เต็มใจให้ จะเป็นขนธรรมดาไม่มีค่าแต่อย่างใด

    12. ชาดกเรื่องสุวัณณหัสชาดกให้คติสอนใจในเรื่องใด
    ตอบ ควรยินดีในสิ่งที่ตนมีอยู่และไม่ควรโลภมากเพราะจะไม่เกิดลาภใดๆเลยคือเสื่อมลาภ(โลภมาก ลาภหาย)
    mkc7445
    mkc7445
    ..
    ..


    Posts : 22
    Joined : 24/01/2010
    Location : ในใจของคุโด้ไง
    Karma : 0

    สรุปเนื้อหาวิชาสังคมและพระพุทธของอ.ลัดดา Empty Re: สรุปเนื้อหาวิชาสังคมและพระพุทธของอ.ลัดดา

    ตั้งหัวข้อ  mkc7445 Fri Jul 09, 2010 7:42 pm

    ขอบคุณมากค่ะ><
    Indielด็กlluว
    Indielด็กlluว
    .....
    .....


    Posts : 1856
    Joined : 14/02/2009
    Location : Top Of The World
    Karma : 1

    สรุปเนื้อหาวิชาสังคมและพระพุทธของอ.ลัดดา Empty Re: สรุปเนื้อหาวิชาสังคมและพระพุทธของอ.ลัดดา

    ตั้งหัวข้อ  Indielด็กlluว Sun Jul 11, 2010 6:43 pm

    เยอะว้อยยยย

      เวลาขณะนี้ Tue Mar 19, 2024 2:09 pm